เมื่อวันที่ 23 เม.ย. โลกออนไลน์เกิดกระแสวิพากษ์อย่างหนัก ภายหลังจากที่ รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ออกมาระบุว่า “ขำไม่ออก หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ ม.4 ปีนี้ ยังมีเรื่องมาจากอัลไต แม้จะเลี่ยงใช้คำว่า “แนวคิด” ก็เถอะ เอาไว้ไปคุยกันหัวเราะกันในระดับ ป.ตรี ดีกว่า ว่ามั้ย” พร้อมเผยภาพส่วนหนึ่งของหนึ่งสือเรียนชั้น ม.4 ที่มีการระบุเอาไว้ถึงเส้นทางที่มาของคนไทย อ้างว่ามาจากเทือกเขาอัลไต ของมองโกเลีย

อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่โพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ต่างมีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความเห็นกันเป็นจำนวนมาก อาทิ
-ไม่ตรวจตราข้อมูลเลย ล้าสมัยมาก
-อาจารย์สุจิต ไม่ถูกใจสิ่งนี้ 555
-ยังมีคนเชื่ออยู่อีกหรือว่าอพยพมาจากอัลไต
-ตอนเรียน ม.ปลาย ครูบางท่านแทบไม่ใช้หนังสือกระทรวงเลย ก็เพราะอิแบบนี้แหละ เนื้อหาโบราณคร่ำครึ หลักสูตรใหม่ที่เปลี่ยนแค่เลข พ.ศ.กับหน้าปกหนังสือ
-การศึกษาไทยย้ำคิดย้ำทำอยู่ที่เดิมจึงไม่ไปไหน เป็นเพราะนักการศึกษายุคเก่ายังไม่ยอมออกไปไหน

ทั้งนี้ ความเข้าใจว่าคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตนั้น มาจากหนังสือเรื่อง “หลักไทย” โดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ตีพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2471 ซึ่งมีการอ้างถึง หมอดอดด์ หรือ บาทหลวงวิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ (William Clifton Dodd) โดยมีเนื้อหา ระบุว่า ไทยเป็นเชื้อสายมองโกล เก่าแก่กว่าจีน และเคยเป็นเจ้าของดินแดนจีน แนวคิดนี้ถูกนำไปขยายว่าถิ่นเดิมของไทยอยู่ที่มองโกเลีย อย่างไรก็ตาม ภายหลังทาง กระทรวงศึกษาธิการ ก็ถอดเรื่องคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตออกจากหลักสูตรใน พ.ศ. 2521 หลังจากนักวิชาการคัดค้านว่าไม่มีหลักฐานอีกด้วย..

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์