เมื่อวันที่ 5 ก.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ “World Forum ข่าวสารต่างประเทศ” โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า “ศรีลังกา : หากมารับช้าง 2 เชือกกลับประเทศไทย จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย

*ข่าวท้องถิ่นศรีลังกา 4.07.2023 นาย เนรัญชรา ไวเยรัตเน นักการเมือง ผู้นำฝ่ายค้าน อดีตผู้นำผู้ปกครองสำนักงานของหัวหน้าฝ่ายอุปัฏฐาก Sri Dalada Maligawa วัดพระเขี้ยวแก้ว หัวหน้าฝ่ายฆราวาส มีอำนาจหลายอย่างจัดการส่งเสริม เกี่ยวกับวัดในเมืองแคนดี้

เนรัญชรา ไวเยรัตเน ให้ข้อมูลผ่านสื่อศรีลังกาว่าช้างไทยราชา ได้รับมอบเป็นของขวัญแก่ วัดศรีดาลดา มาลิกาวา (วัดพระเขี้ยวแก้ว) จากพระมหากษัตริย์ไทยเมื่อ 37 ปีที่แล้ว มีสุขภาพแข็งแรงดี NGO องค์กรเกี่ยวกับสัตว์ บางรายในศรีลังกากำลังส่งข้อมูลที่ไม่ถูกต้องไปยังรัฐบาลไทยเกี่ยวกับช้าง หากมีการพยายามนำช้างที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ไทยกลับไปยังประเทศไทยนั้น จะมีการฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยสำหรับค่าใช้จ่ายในการบำรุง ดูแล รักษาช้างจนถึงปัจจุบันช้างได้รับการดูแลอย่างดีจากรุ่นพี่ที่จบทางด้านสัตวแพทย์ศาสตร์ ตั้งแต่รับช้างมาเมื่อ 37 ปีก่อนใช้เงินจำนวนมหาศาลในการดูแล

นอกจากนี้เขายังชี้ให้เห็นว่าการขอของขวัญที่มอบให้คืนนั้นผิดจรรยาบรรณการแห่พระบรมสารีริกธาตุศักสิทธิ์ แห่พระเขี้ยวแก้ว เปรียบเสมือนการถวายของแก่พระพุทธเจ้า มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ที่อาจละเลยไม่ได้ NGO องค์กรเกี่ยวกับสัตว์ ที่พึ่งพาเงินจากต่างประเทศกำลังทำงานเพื่อส่งช้าง 2 เชือกกลับประเทศไทย ตามคำกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมของไทย ได้กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า หากคนไทยเรียกร้อง พวกเขาพร้อมที่จะนำช้างที่เหลืออีก 2 เชือกกลับไทย

เนรัญชรา ไวเยรัตเน กล่าว ข้าพเจ้าทูลขอต่อพระเจ้าภูมิพลมหาราชาแห่งประเทศไทย ขอให้ถวายลูกช้างแก่ วังดาลดา (วัดพระเขี้ยวแก้ว) คำขอนั้นได้รับมอบช้างในปี 2529 ลูกช้างตัวนี้ถูกนำมาโดยเครื่องบินรบเครื่องบินขนส่งของอเมริกา และได้รับอนุมัติพิเศษจาก เจอาร์ เจวาร์ดีน ผู้นำศรีลังกาในสมัยนั้น

ช้างตัวแรก มุทุราชา (พลายศักดิ์สุรินทร์) นั้นได้ส่งกลับถึงประเทศไทยแล้ว องค์กรเกี่ยวกับสัตว์กำลังพยายามจะนำช้างอีก 2 เชือกกลับในปัจจุบัน

ทั้งนี้ ศรีลังกา มีการแห่พระเขี้ยวแก้ว พระบรมสารีริกธาตุ ….แห่อื่นๆ จำนวนมาก หลายวัด ใช้ช้างมากถึง 150 เชือก+ ในการแห่ มีหลายแบบ ช้างทรงเครื่องตกแต่ง แห่ 20.00-02.00 + น. บางกรณีช้างเดินหลายกิโลเมตร

ช้างเอเชียในศรีลังกานั้นตัวใหญ่แต่ไม่เข้าตำรา เนื่องจากงาสั้น งายาวสุด 20 ซม. ช้างพม่า อินเดีย ไทย เข้าเกณฑ์ งายาว สวยงามตามตำรา จึงถูกขอจากศรีลังกาในโอกาสต่างๆ และถูกส่งมอบให้ ไทย อินเดีย พม่า ศรีลังกา มีความเชื่อมโยงทางศาสนา ประเพณี

อีกทั้งการแห่พระเขี้ยวแก้ว มีมามากกว่า 270 ปี

นอกจากนี้ หลายวัดของศรีลังกา เลี้ยงดูช้าง ที่เข้าตำราสง่า ไว้ร่วมกิจกรรมแห่ต่างๆ การแห่ขบวนด้วยช้างจำนวนมาก ได้รับความสนใจจากคนท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว”

ขอบคุณข้อมูล – ภาพ เพจ “World Forum ข่าวสารต่างประเทศ”