องค์กรการบินและอวกาศแห่งสหรัฐหรือองค์กร “นาซา” เผยแพร่ข่าวเมื่อวันที่ 31 ม.ค. ที่ผ่านมาว่า พบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลก มีมวลมากกว่าโลก แต่ไม่มากกว่าดาวเนปจูน หรือที่เรียกว่า “ซูเปอร์เอิร์ธ” ดวงใหม่ที่อยู่ห่างจากโลกเพียง 137 ปีแสง

ซูเปอร์เอิร์ธดวงนี้มีชื่อรหัสว่า TOI-715 b มีวงโคจรอยู่ในเขตเอื้ออาศัย กล่าวคือโคจรห่างจากดาวฤกษ์ในระยะที่เหมาะสม ทำให้เกิดสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัยสำหรับสิ่งมีชีวิต เช่น อาจมีอุณหภูมิที่ไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัดจนเกินไป, มีน้ำอยู่บนพื้นผิวดาว

TOI-715 b กว้างใหญ่กว่าโลกราว 1.5 เท่าและโคจรรอบดาวฤกษ์สีแดงดวงเล็ก ซึ่งหากได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ ดาวเคราะห์ดวงนี้ก็จะกลายเป็นซูเปอร์เอิร์ธในเขตเอื้ออาศัยดวงเล็กที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบด้วยกล้องจากดาวเทียม TESS (Transiting Exoplanet Survey Satellite)

@interestingengineering

TOI-715 b, surpassing Earth but dwarfed by Jupiter, kindles scientific intrigue. Nestled in its star’s habitable zone, it tantalizingly hints at liquid water and potential life. However, tidal locking fuels extreme temperature contrasts across its surface. #TOI715b #SurpassingEarth #DwarfedByJupiter #ScientificIntrigue #HabitableZone #LiquidWater #PotentialLife #TidalLocking #ExtremeTemperatureContrasts#Surface

♬ interestingengineering – orijinal ses – interestingengineering

นาซา ระบุว่า เนื่องจากระยะโคจรของซูเปอร์เอิร์ธดวงนี้อยู่ห่างจากดาวฤกษ์ซึ่งเป็นดาวแคระแดงของมันไม่มากนัก ทำให้เวลา 1 ปีของ TOI-715 b เทียบเท่ากับเวลา 19 วันบนโลก วงโคจรที่เล็กแคบเช่นนี้ยังทำให้ง่ายต่อการตรวจจับความเคลื่อนไหวและสังเกตุการณ์ได้สะดวกขึ้น

ภาพจำลองการโคจรรอบดาวแคระแดงของซูเปอร์เอิร์ธ TOI-715b

นอกจากนี้ นาซา ยังได้เพิ่ม TOI-715 b เข้าไปในรายชื่อของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะในเขตเอื้ออาศัย ซึ่งจะได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ที่มีประสิทธิภาพสูง มาสำรวจดาวดวงนี้โดยละเอียด เพื่อวิเคราะห์ชั้นบรรยากาศและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตที่อาจปรากฏอยู่บนดาวต่อไป

ที่มา : abcnews.go.com

เครดิตภาพ : NASA/JPL-Caltech