เมื่อวันที่ 1 เม.ย. ผศ.ดร.สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล หัวหน้าแผนกวิจัย สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เปิดเผยว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน กรณี “ปัญหาฝุ่น PM 2.5”  จำนวน 1,500 ราย โดยเป็นประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ในช่วงระหว่างวันที่ 12-14 มี.ค.2567 โดยผลสำรวจพบว่า มีความกังวล ระดับค่อนข้างมาก ร้อยละ 37.5  กังวลระดับมาก ร้อยละ 28.5วิตกกังวลน้อย ร้อยละ 25.9 และ ไม่มีความวิตกกังวล ร้อยละ 8 นอกเหนือจากนั้นยังได้สำรวจถึงระดับความรุนแรง พบว่า คนไทยส่วนใหญ่เห็นว่าปัญหาฝุ่น PM 2.5 มีความรุนแรงอยู่ในระดับค่อนข้างรุนแรง ร้อยละ 47.3รุนแรงมาก ร้อยละ 30.1 รุนแรงน้อย ร้อยละ 14.8 และไม่รุนแรง ร้อยละ 4.8

ขณะที่สาเหตุหลักของปัญหาฝุ่น PM 2.5 พบว่า คนไทยส่วนใหญ่คิดว่ามาจากสาเหตุสภาพอากาศ ความแห้งแล้งมากที่สุด ร้อยละ 25.4 รองลงมา การเผาของเกษตรกรและการเผาขยะ ร้อยละ 23.4 ไอเสียจากรถยนต์ ร้อยละ 16.4 โรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ 15.8 ฝุ่นควันจากประเทศเพื่อนบ้าน ร้อยละ 12.5 และ การก่อสร้าง ร้อยละ 6.4

โดยวิธีการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เฉพาะตัว ส่วนใหญ่เลือกใช้วิธีสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่น ร้อยละ 69.6 ปิดประตูหน้าต่าง ร้อยละ 41.4 งดทำกิจกรรมนอกอาคาร ร้อยละ 36.6 ติดเครื่องฟอกกาศ ร้อยละ 35.1 เช็คค่าฝุ่นก่อนออกจากบ้าน ร้อยละ 32.5 ล้างเครื่องปรับอากาศ ร้อยละ 26.5 และไม่ทำอะไรเลย ร้อยละ 3.5

ทั้งนี้การให้คะแนนการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของรัฐบาล ชุดปัจจุบัน พบว่า อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 16.1 ระดับค่อนข้างมาก ร้อยละ  27.7 ระดับปานกลาง ร้อยละ 26.1ระดับค่อนข้างน้อย ร้อยละ 25 และระดับน้อย ร้อยละ 15.1

ขณะที่ความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาของรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่น ร้อยละ 48.7 ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 25.9ไม่แน่ใจ ร้อยละ 25.4.