ซึ่งถ้าเป็นในขั้วโลกเหนือ ที่มีภูเขานํ้าแข็งก็จะมีข่าวภูเขานํ้าแข็งละลายค่อย ๆ ถล่มลงมหาสมุทร หมีขาวขั้วโลกไม่มีนํ้าแข็งให้ยืนโชว์ ปลาใต้ทะเลว่ายหลงทาง เพราะไม่รู้ว่าตรงไหนเป็นกระแสนํ้าอุ่น เพราะอุ่นทุกที่จนปะการังฟอกสีและสัตว์ทะเลลดจำนวนลงเพราะขาดอาหารและที่อยู่อาศัย บนบกก็จะเห็นข่าวไฟไหม้ป่า จนถึงชาวบ้านออกมาแก้ผ้าเล่นนํ้าพุตามพลาซ่าต่าง ๆ หรือตอกไข่เพื่อทำไข่ดาวกันบนถนน

แล้วเราร้อนแค่ไหน? ดูจากเทอโมมิเตอร์ หรือพยากรณ์อากาศเพียงพอหรือไม่? ซึ่งอุณหภูมิจากพยากรณ์อากาศนั้นบอกได้เที่ยงตรงระดับหนึ่ง แต่ความรู้สึกว่าร้อนแค่ไหน? ก็คงต้องดูจากปัจจัยแวดล้อมในสถานที่นั้น ๆ ในขณะนั้นประกอบด้วย เช่น…

“ความชื้น” ถ้าความชื้นสูง เหงื่อจากร่างกายของเราระบายไม่ดี ก็จะรู้สึกร้อนมากขึ้น เหนอะหนะ และเป็นภาวะไม่สบาย

“กระแสลม” ถ้ามีกระแสลมพัดผ่าน ส่วนใหญ่มักจะรู้สึกร้อนน้อยลง เช่น ริมทะเล ริมบึง ที่มีกระแสลมพัดผ่านนํ้า แต่ถ้าเป็นกระแสลมพัดผ่านลานคอนกรีต ความรู้สึกนั้นก็จะตรงกันข้าม

“ร่มเงา” ใต้ต้นไม้ใหญ่ ใต้เงาตึกอาคาร ใต้หลังคา จะมีอุณหภูมิต่างจากกลางแจ้งอยู่มาก

“พื้นผิว” พื้นที่รอบตัวเรา ถ้าเป็นธรรมชาติ ต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา มีทุ่งหญ้า มีบ่อนํ้า ก็จะร้อนน้อยกว่าในบริเวณที่เป็นพื้นปูน พื้นยางมะตอย ที่อมความร้อนระอุ และระบายออกมา

“ต้นกำเนิดความร้อนอื่น ๆ” เช่น จากเครื่องยนต์ จากการจราจร จากเครื่องทำความเย็นที่มีมากมายในเมือง

สำหรับคนเมืองในป่าคอนกรีต 40 องศาเซลเซียสของเรา จึงย่อมร้อนกว่า 40 องศาเซลเซียสของเมืองตากอากาศชายทะเลมากนัก และอีกไม่นานเราอาจจะออกนอกอาคารช่วงกลางวันไม่ได้ ดังนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะปรับปรุงผังเมืองกันจริงจัง ด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ สวนลอยฟ้าบนตึกสูง สวนแนวตั้งเชื่อมต่อทางเดินถนนด้วยร่มไม้เลื้อยผสมต้นไม้ใหญ่ ลดลานปูนคอนกรีต พัฒนาช่องลมเพื่อดึงลมเย็นจากแม่นํ้าสู่เมือง หรือมีการปล่อยละอองนํ้าเพื่อลดความร้อน และอื่น ๆ อีกมากมาย หรือถ้ายังทำอะไรไม่ได้ เดือนนี้ให้ออกไปสาดนํ้าสงกรานต์ก่อนก็คงพอคลายร้อนได้ แต่นํ้าที่สาดกันปีนี้

ก็คงจะอุ่น ๆ หน่อย.