เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 24 ต.ค. ที่ หน้าศาลฎีกานาย สมยศ พฤกษาเกษมสุข น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล น.ส. ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล นายธนัตถ์ ธนากิจอำนวย ในนามกลุ่มแกนนำคณะราษฎรณรงค์ยกเลิก 112 หรือ ครย. ร่วมกันแถลงข่าวแนวทางการต่อสู้ทางประชาธิปไตยเพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112

โดยเนื้อหาในแถลงการณ์ระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย. 63 ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ประกาศต่อสาธารณะว่า จะมีการบังคับใช้ “กฎหมายทุกฉบับ-ทุกมาตรา” กับประชาชนที่มาชุมนุ่มหรือแสดงออกทางการเมือง ทำให้ประมวลกฎหม่ายอาญามาตรา 112 ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางอีกครั้ง แม้กฎหมายดังกล่ววจะไม่มีการบังคับใช้มาตั้งแต่ ปี 2561 การนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กลับมาใช้อีกครั้ง จึงสะท้อนถึงความไม่แยแสของรัฐ ต่อหลักสิทธิมนุษยชน ต่อหลักประชาธิปไตย และต่อประชาคมโลก ที่ต่างวิพากษ์วิจารณ์ว่า กฎหมายมาตรานี้เป็นกฎหมายที่คลุมเครือ และรุนแรงเกินสัดส่วนต่อการใช้เสรีภาพในการแสดงออก และขัดกับกติกาสากลระหว่างประเทศ อีกทั้ง มันยังสะท้อนว่า ‘มาตรา 112’ คือ เครื่องมือในการจัดการกับประชาชนที่เห็นต่างจากผู้มีอำนาจรัฐ

โดยปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 สามารถสรุปได้อย่างน้อย 10 ข้อ ดังนี้

  1. มาตรา 112 ใครแจ้งความก็ได้ เนื่องจาก มาตรา 112 อยู่ในหมวดความนั่นคงแห่งรัฐ ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเป็นผู้กล่าวโทษในคดีได้ และนำไปสู่การฟ้องกลั่นแกล้งกัน
  2. มาตรา 112 มีอัตราโทษสูง เนื่องจาก มาตรา 112 กำหนดอัตราโทษจำคุกไว้ที่ 3 ถึง 15 ปี ซึ่งเป็นอัตราโทษเดียวกับความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา และมีโทษสูงสุดสูงกว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาหลายเท่า
  3. มาตรา 112 ไม่มีชอบเขตชัดเจน เนื่องจาก มาตรา 112 ได้รวมทั้งการ “หมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย” เข้ามาเป็นความผิดในมาตราเดียวกัน ทำให้ยากต่อการตีความขอบเขต
  4. มาตรา 112 ไม่คุ้มครองการติชมโดยสุจริต เนื่องจาก มาตรา 112 ไม่มีการคุ้มครองการแสดงความคิดเห็นที่เป็นการติซมสุจริต หรือ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งโดยหลักแล้วต้องได้รับการคุ้มครอง
  5. มาตรา 112 มีการบังคับใช้อย่างความกว้างขวาง เนื่องจาก มาตรา 112 มีบทบัญญัติที่ไม่ได้ให้ขอบเขตที่ชัดเจน ทำให้เกิดการตีความบังคับใช้อย่างกว้างขวาง
  6. มาตรา 112 ทำให้เจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ เนื่องจาก มาตรา 12 อยู่ในหมวดความมั่นคงแห่งรัฐ ทำให้กระบนการยุติธรรมไม่กล้าปกป้องสิทธิผู้ต้องหา เช่น การให้สิทธิในการให้ประกันตัว
  7. มาตรา 112 ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้ เนื่องจาก จำเลยคดีมาตรา 112 จำนวนมากจะไม่ได้ประกันตัวในระหว่างการพิจารณาแล้ว การแสวงหาพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมักเป็นไปได้ยาก และนำไปสู่ภาวะจำยอมรับสารภาพ
  8. มาตรา 112 มีโทษหนักเบาตามสถานการณ์การเมือง เนื่องจาก มาตรา 112 เป็น ‘คดีนโยบาย’ ที่แปรผันตามผู้มีอำนาจรัฐ ซึ่งชัดต่อหลักการปกครองด้วยกฎหมาย หรือหลักนิติธรรม
  9. มาตรา 112 สร้างผลกระทบต่อสังคม เนื่องจาก ปัญหาของตัวบทและการบังคับใช้มาตรา 112 ได้นำไปสู่บรรยากาศการแห่งความกลัวในการใช้เสริภาพในการแสดงออก
  10. มาตรา 112 สร้างผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจาก ปัญหาของตัวบทและการบังคับใช้ มาตรา 112 จึงส่งผลให้การวิพากษ์วิจารณ์หรือการติชมโดยสุจวิตต่อสถาบันกษัตริย์ทำไม่ได้ หรือตรวจสอบไม่ได้

หากนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 ถึง 19 ตุลาคม 2564 มีประชาชนอย่างน้อย 151 คน ที่ถูกตั้งข้อหามาตรา 112 จากการแสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าจะมาจากการปราศรัย การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ หรือ การแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ โดยผู้ที่ถูกตั้งข้อหามากที่สุด คือ ‘เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์’ ที่ถูกตั้งข้อหาอย่างน้อย 21 คดี และมีความเป็นไปได้ที่จะต้องรับโทษจำคุกสูงสุดรวมกันถึง 315 ปี ซึ่งเป็นจำนวนโทษในคดี 112 ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์

การคงอยู่ของ มาตรา 112′ เปรียบเสมือนภัยคุกคามต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะว่าดังกล่าวมีอัตราโทษที่สูงแต่กลับถูกตีความเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกได้อย่างกว้างขวาง ประกอบกับกฎหมายไม่มีบทบัญญัติที่คุ้มครองการแสดงความคิดเห็น อาทิ การติชมโดยสุจวิต จึงทำให้การแสดงความคิดเห็น การปราศรัย ไปจนถึงการแต่งกายในม็อบ หรือ การช่วยเหลือสนับสนุนผู้จัดการชุมนุม กลายเป็นเหตุในการแจ้งข้อหา มาตรา 112 ได้หมด อีกทั้ง การบรรจุมาตรา 112 ไว้ในหมวดความมั่นคงของรัฐ จึงทำให้เกิดการฟ้องกลั่นแกล้งกัน เพราะในคดี 112 ใครเป็นผู้แจ้งความดำเนินคดีก็ได้ อีกทั้ง ด้วยเป็นคดีความมั่นคงของรัฐ จึงทำให้เจ้าหน้าที่รัฐเลือกจำกัดบทบาทในการปกป้องสิทธิของผู้ต้องหา อาทิ การให้สิทธิในการประกันตัว การให้สิทธิที่จะได้รับการการพิจารณาโดยเปิดเผยและการพิจารณาคดี

ในปัจจุบัน มี ผู้ต้องขัง’ ในคดี 112 ที่ไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว อย่างน้อย 5 คน คือ อานนท์ นำภา, พริษฐ์ ชิวารักษ์, ไผ่-จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา, ไมค์-ภาพงศ์ จาดนอก และ เบนจา อะปัญ แม้บุคคลดังกล่าวจะไม่มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนีก็ตาม รวมถึงยังมีผู้ต้องขังในคดี 112 ที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว อย่างคน คือ ‘อัญชัน’ และ ‘บุรินทร์’ อีกทั้ง ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา มาตรา 112 ทำให้มีนักโทษคดีการเมืองมากมาย และทำให้มีผู้ที่ต้องลี้ภัยทางการเมือง ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ ทั้งที่สูญหาย และทั้งที่เสียชีวิตอย่างปริศนา

ในการนี้ ภาคประชาชนในนามกลุ่ม “ราษฎร” จึงมีความประสงคในการเชิญชวนประชาชนให้มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์และขับเคลื่อนให้มีการ “ยกเลิกมาตรา 112” เพื่อสร้างบรรทัดฐานสิทธิเสรีภาพตามหลักประชาธิปไตยสากล

โดยทางกลุ่มราษฎรจะใช้สิทธิตามรัฐรรมนูญ ทำกิจกรรมเข้าชื่อเสนอกฎหมาย หรือ การลงลายมือชื่อของสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 รายชื่อ เพื่อเสนอร่างกฎหมายยกเลิกประมาลกฎหมายอาญา มาตรา 112 สภา โดยในวันที่ 31 ต.ค. 64 จะเป็นวันเริ่มต้นก้าวแรกของการรณรงค์เพื่อยกเลิก 112

ทั้งนี้ตอนท้ายนายสมยศ ได้ประกาศว่า ในวันที่ 31 ต.ค. ทางกลุ่มจะมีการนัดชุมนุมใหญ่ที่แยกราชประสงศ์ ตั้งแต่เวลา 16.00-21.00 น. เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. ขอให้ทุกคนออกมาโดยพร้อมเพียงเตรียมบัตรประชาชนมาเพื่อที่จะล่ารายชื่อยกเลิก 112 อีกทั้งยืนยันว่าในวันดังกล่าวมีบิ๊กเซอร์ไพร้ส์รองรับ อย่างไรก็ตามทางกลุ่มจะเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องไม่หยุดเพียงเท่านี้.