เมื่อวันที่ 12 ก.ค.ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) แถลงว่า  ตอนนี้ประชาชนคุ้นเคยชุดตรวจ Rapid Test จึงขอทำความเข้าใจกับประชาชนว่า โดยปกติในโรงพยาบาลมีการใช้เฉพาะกรณีที่มีภาวะฉุกเฉินเช่นผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุ จำเป็นต้องตรวจโควิด-19 อย่างเร่งด่วน แต่ด้วยข้อจำกัดว่าการตรวจดังกล่าวมีความแม่นยำต่ำจึงไม่มีการแนะนำให้นำมาใช้ในก่อนหน้านี้ แต่ขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปมีความต้องการการตรวจที่มากขึ้น และการติดเชื้อแพร่กระจายอย่างรวดเร็วหากจะรอผลการตรวจ 1-2 วัน อาจจะทำให้การควบคุมโรคไม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการทบทวนนำชุดตรวจ Rapid Test ที่มีมาตรฐานที่ยอมรับได้และจะอนุญาตให้ประชาชนนำมาใช้ได้ ทั้งนี้ ชุดตรวจ Rapid Test มีหลากหลายบริษัทและมีทั้งตรวจเชื้อและซากเชื้อ หรือตรวจภูมิคุ้มกัน หรือ ชุดตรวจหาเชื้อ Antigen Rapid Test Kit  ในหลักการถ้าเริ่มติดเชื้อหรือมีเชื้อไม่มาก ผลตรวจอาจจะออกมาเป็นลบ ซึ่งจะไม่ไว และแม่นยำพอที่จะตรวจหาเชื้อได้ ซึ่งหากตรวจด้วยวิธีดังกล่าวแล้วผลออกมาเป็นลบ ขอให้อย่านิ่งนอนใจ จะต้องมีการเฝ้าระวังอาการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในรายที่สัมผัสผู้ที่มีการติดเชื้อยืนยันก่อนหน้านี้ เพราะถือว่ามีการสัมผัสเสียงสูง โดยระหว่างที่เฝ้าระวังอาการแม้ผลเป็นลบ จะต้องแยกกักตัวเอง และจะต้องมีการตรวจผลซ้ำในวันที่ 5-7 โดยในระยะเวลาวันดังกล่าวเชื้อจะมีจำนวนมากขึ้น

พญ.อภิสมัย กล่าวต่อว่า ศบค.ขอความร่วมมือ กทม.เร่งระดมฉีดวัคซีนให้กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่ม 7 โรคเรื้อรังหลักที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ และมีการรายงานว่าจะเร่งเพิ่มจำนวนให้เลวและขยายให้ครอบคลุมกลุ่มเพื่อติดเชื้อให้มากขึ้นในช่วงสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ แม้ฉีดวัคซีนครบ 2 โด๊ส อาจจะมีความเสี่ยงเป็นผู้ติดเชื้อได้ แต่มีคำถามว่าถ้าฉีดวัคซีนแล้วมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้หรือไม่นั้น ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขชี้แจงแล้วว่า ยังมีความเป็นไปได้.