ผลกระทบของเบาหวานชนิดที่ 1 ต่อสมรรถภาพทางเพศของวัยรุ่น

เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เพศศึกษา คือ กระบวนการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นกรรมวิธีที่จะ
ให้บุคคลได้เรียนรู้ธรรมชาติ ความเป็นจริงของชีวิตและสังคม เพื่อให้บุคคลมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ถูกต้องในเรื่องเพศ ตลอดจนสามารถปรับตัวตามพัฒนาการชีวิตได้อย่างเหมาะสม

เพศศึกษา เป็นสิ่งสำคัญจำเป็นอย่างยิ่งและขาดไม่ได้สำหรับการควบคุมโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (chronic non-communicable disease คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ ค่อย ๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย) และการดูแลผู้ป่วยแบบครบวงจร ครอบครัวของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จะกังวลเกี่ยวกับจุดอ่อนหรือความอ่อนแอและการควบคุมในการลดระดับน้ำตาล

การศึกษา สามารถช่วยได้มากกว่าการรักษาควบคุมการเผาผลาญ การศึกษามีส่วนช่วยให้คงรักษาเด็กวัยรุ่นที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในเส้นโค้งการเจริญหรือพัฒนาสุขภาพ การแทรกแซงของการศึกษาจะเพิ่มความรู้และช่วยให้ผู้ป่วยยอมปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

ความรู้สึกเรื่องเพศในช่วงกำลังพัฒนาสู่การเป็นวัยผู้ใหญ่ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มีการศึกษาความรู้สึกเรื่องเพศในช่วงกำลังพัฒนาสู่การเป็นวัยผู้ใหญ่ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีลักษณะเป็นปรนัยและมีคำถามว่า “อะไรเป็นผลกระทบของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ต่อสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์”

พบว่าผลกระทบคือ อาการน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงผิดปกติระหว่างมีเพศสัมพันธ์ การใช้อินซูลินปั๊ม (Insulin Pump) การติดต่อซึ่งกันและกันระหว่างแต่ละบุคคล และผลกระทบระหว่างบุคคลของโรคเบาหวาน

———————————–
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล