เรียนคุณหมอ ดร.โอ สุขุมวิท 51 ที่เคารพ

ปัจจุบันผมอายุ 70 ปี มีอาการอวัยวะเพศเริ่มไม่แข็งตัวมาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว เคยเข้ารับการตรวจที่กรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งเมื่อปี 2560 แพทย์ได้ตรวจด้วยการสแกนที่อวัยวะเพศ แจ้งผลการตรวจว่า “เส้นเลือดดำรั่ว” จึงรักษาด้วยวิธีกระตุ้นเข้าอวัยวะเพศซึ่งก็ได้ผลดี แต่ก็มีการปรับยา 1 ครั้งใช้ได้ 50 ครั้ง หลังจากนั้นก็เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน แพทย์ได้ฉีดฮอร์โมนเพศชายและให้กินยาเม็ดเฉพาะกิจ พร้อมกับมีการตรวจหัวใจ เส้นเลือดและตรวจเลือด ผลการตรวจทราบว่ามีปัญหาเรื่องหลอดเลือดแดงแต่ยังตอบสนองต่อตัวยาที่ให้กินอยู่และพบว่าฮอร์โมนเพศลดลง อาการการแข็งตัวก็ดีขึ้น แต่ปัจจุบันมีปัญหาเหมือนเดิมมาประมาณ 3 เดือนแล้ว ร่างกายไม่มีโรคประจำตัวอะไร จึงอยากมาปรึกษาคุณหมอโอ

ด้วยความเคารพ
นฤพล 70

ตอบ นฤพล 70

ชายวัย 70 ปี ได้รับการรักษาอีดีมาเป็นเวลา 3 ปี โดยการใช้วิธีกระตุ้นอวัยวะเพศประมาณ 50 หน ต่อมาได้รับการรักษา
โดยการใช้ยากินคือยาเฉพาะกิจและได้รับการฉีดฮอร์โมนชาย การใช้ยากระตุ้นเป็นหนึ่งวิธีในการรักษาโรคอีดีคือทันใจดี ประมาณ 10 นาทีก็จะมีการแข็งตัวได้นานถึง 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีวิธีบริหารกล้ามเนื้อเพศซึ่งแพทย์จะเน้นการสอนให้คนไข้ใช้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มออกซิเจนแก่กล้ามเนื้อ สามารถเพิ่มความแข็งแรงแก่เส้นประสาทของอวัยวะเพศที่บกพร่องได้ ตามอาการที่พบตอนนี้ถือว่าดื้อต่อยาเฉพาะกิจ คนไข้ที่ดื้อต่อยาเฉพาะกิจจำเป็นต้องอาศัยการตรวจร่างกายอย่างละเอียด หากมีการดื้อต่อยาเฉพาะกิจสมัย
ก่อนวิธีที่เป็นทางเลือกสุดท้ายคือการใส่แกนซึ่งจะจำเป็นต่อคนไข้บางรายเท่านั้น

แต่ปัจจุบันมีวิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่โดยการยิงคลื่นความถี่ต่ำไปยังเส้นเลือดบริเวณองคชาต 5 จุด หรือที่เรียกว่าวิธีช็อกเวฟ อาศัยหลักการเดียวกับการสลายนิ่วที่เมืองไทยมีการใช้มานานกว่า 20 ปีแล้ว แต่แตกต่างกันตรงที่ช่วงคลื่นความถี่ที่ยิงเท่านั้น วิธีช็อกเวฟจะช่วยทำให้มีการสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่และทำให้เส้นเลือดเก่าที่มีการยืดหยุ่นน้อยมีการปรับสภาพซ่อมแซมตัวเองทำให้เพิ่มความยืดหยุ่น

การรักษาจะทำควบคู่กับการขยายเส้น เลือดและกล้ามเนื้อเพศเป็นประจำจะได้ผลดีกว่ารักษาโดยวิธีช็อกเวฟวิธีเดียว การแข็งตัวที่ไม่เต็มที่ก็จะฟื้นตัวได้เร็วขึ้นโดยที่ไม่ต้องพึ่งยาเฉพาะกิจ ซึ่งเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อกลุ่มคนไข้อีดีที่ดื้อต่อยาเฉพาะกิจหรือแพ้ยาดังกล่าวซึ่งมีเป็นจำนวนมากและยาห้ามในคนไข้ที่กินยาขยายเส้นเลือดหัวใจ เช่น กลุ่มไนเตรทเป็นเรื่องสำคัญ แนวทางการรักษาอาการอีดีมีหลายวิธีแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและเลือกวิธีการรักษาให้ ซึ่งในคนไข้แต่ละคนการรักษาย่อมแตกต่างกัน

———————-
ดร.โอ สุขุมวิท 51