สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 4 พ.ย. ว่า กลุ่มควันสีขาวอมเทาที่ถูกปล่อยออกมาจากการปะทุในหมู่เกาะโพลินีเชีย กลายเป็นกลุ่มควันแรกที่ได้รับการบันทึกว่า สามารถทะลุผ่านชั้นบรรยากาศเยือกแข็งของโลกที่เรียกว่า “มีโซสเฟียร์” ได้ ตามที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนใช้ภาพถ่ายดาวเทียมหลายภาพ เพิ่มวัดความสูงของมัน

นายไซมอน พราวด์ ผู้เขียนนำของการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science กล่าวว่า กลุ่มควันดังกล่าวประกอบด้วยน้ำเป็นหลัก พร้อมกับมีเถ้าและซัลเฟอร์ไดออกไซด์ผสมอยู่ ซึ่งต่างจากการปะทุของภูเขาไฟบนพื้นดินที่มักจะมีเถ้าและซัลเฟอร์ไดออกไซด์มากกว่า ในขณะที่น้ำในกลุ่มควันจะมีน้อยกว่า

“สำหรับผม มันน่าทึ่งมากที่การปะทุเกิดขึ้นอย่างอย่างรวดเร็ว มันเปลี่ยนจากการที่ไม่มีอะไรเลย เป็นเมฆสูงราว 57 กิโลเมตร ในเวลาแค่ 30 นาที ผมนึกภาพไม่ออกเลยว่ามันจะเป็นยังไงเมื่อเห็นจากพื้นดิน” พราวด์ กล่าว

ทั้งนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงผู้เสียชีวิต 6 ราย ถือว่าค่อนข้างน้อย เนื่องจากการปะทุเกิดขึ้นในพื้นที่ห่างไกลของตองกา และทำลายเกาะเล็ก ๆ ที่ไม่มีคนอาศัยอยู่

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถใช้เทคนิคที่ยึดตามอุณหภูมิมาตรฐาน ในการวัดกลุ่มควันภูเขาไฟ เพราะการปะทุในเดือน ม.ค. ผ่านจุดสูงสุดที่วิธีการนี้สามารถใช้วัดได้ ดังนั้นแล้ว พวกเขาจึงหันไปใช้ดาวเทียมสภาพอากาศวงโคจรค้างฟ้า 3 ดวง ที่สามารถรับภาพได้ในทุก ๆ 10 นาที รวมถึงอาศัยสิ่งที่เรียกว่า “พารัลแลกซ์ เอฟเฟกต์” เพื่อระบุตำแหน่งของบางสิ่งโดยดูจากแนวสายตาหลายแนว.

เครดิตภาพ : REUTERS