สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงไนโรบี ประเทศเคนยา เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ว่า ตามรายงานขององค์กรอนุรักษ์ “ไลออน การ์เดียนส์” เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น หลังจากกลุ่มนักอนุรักษ์ประกาศการตายของ “ลูนคีโต” สิงโตมีอายุมากที่สุดของแอฟริกา เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากมันออกจากพื้นที่คุ้มครอง และเข้าไปในคอกปศุสัตว์เพราะความหิวโหย ก่อนที่เจ้าของปศุสัตว์จะฆ่ามันตาย

ไลออน การ์เดียนส์ ระบุว่า ภัยแล้งที่สิ้นสุดลง มักจะเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นระหว่างมนุษย์กับสิงโต เพราะสิงโตล่าเหยื่อในป่าได้ยากขึ้น ขณะที่บรรดาเจ้าของปศุสัตว์ต่าง “ระแวดระวังเป็นพิเศษ” หลังจากพวกเขาสูญเสียสัตว์จำนวนมาก

จากข้อมูลของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) สิงโตเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศแอมโบเซลี ในเขตคาจิอาโด ซึ่งเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ใกล้กับภูเขาคิลิมันจาโร

ทั้งนี้ เคดับเบิลยูเอส เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยมีชาวเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ ร่วมหารือเกี่ยวกับการสังหารสิงโตครั้งล่าสุดนี้

“การหารือมุ่งเน้นเรื่องการสำรวจวิธีลดความเสี่ยงของความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสัตว์ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อแจ้งเตือนชุมชน ถึงการปรากฏตัวของสัตว์ป่าในบริเวณใกล้เคียง ตลอดจนภาพรวมของการสำรวจความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสัตว์ ในบริบทของความเป็นอยู่ของชุมชน และการแบ่งปันผลประโยชน์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง ในชุมชนเปิดและภูมิทัศน์ของสัตว์ป่า” เคดับเบิลยูเอส กล่าวทิ้งท้าย.

เครดิตภาพ : AFP