เมื่อวันที่ 24 พ.ค. “กรมอุตินิยมวิทยา” รายงานคาดหมายค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน ตั้งแต่วันที่ 24-26 พ.ค. 2566

โดยจังหวัดที่มีค่าดัชนีความร้อนสูงสุด (°C) รายภาค ดังนี้..
วันที่ 24 พ.ค.

– เพชรบูรณ์ 43.9 องศาเซลเซียส
– โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม 42.9 องศาเซลเซียส
– บางนา กทม. 45.5 องศาเซลเซียส
– ตราด 47.8 องศาเซลเซียส
– ภูเก็ต 45.7 องศาเซลเซียส

วันที่ 25 พ.ค.
– เพชรบูรณ์ 46.1 องศาเซลเซียส
– โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม 43.1 องศาเซลเซียส
– บางนา กทม. 47.6 องศาเซลเซียส
– ชลบุรี 48.1 องศาเซลเซียส
– เพชรบุรี 46.1 องศาเซลเซียส

วันที่ 26 พ.ค.
– เพชรบูรณ์ 49.4 องศาเซลเซียส
– โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม 45.1 องศาเซลเซียส
– บางนา กทม. 49.6 องศาเซลเซียส
– สัตหีบ จ.ชลบุรี 49.1 องศาเซลเซียส
– เพชรบุรี 47.5 องศาเซลเซียส

สำหรับ “ดัชนีความร้อน” คือ อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้น ว่า อากาศร้อนเป็นอย่างไร หรือ อุณหภูมิที่ปรากฏในขณะนั้นเป็นเช่นไร โดยค่าดัชนีความร้อนนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อลดความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบจากความร้อนได้

ค่าดัชนีความร้อน แบ่งเป็น 4 ระดับ
– ระดับเฝ้าระวัง 27-32 องศาเซลเซียส หรือสีเขียว เป็นระดับที่ร่างกายอ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความร้อน หรือออกกำลังกาย หรือทำงานใช้แรงงานท่ามกลางอากาศร้อน
– ระดับเตือนภัย 32-41 องศาเซลเซียส หรือสีเหลือง ถ้าขั้นนี้จะเกิดตะคริวจากความร้อน และอาจเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
– ระดับอันตราย 41-54 องศาเซลเซียส หรือสีส้ม ระดับนี้จะมีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด หรือฮีทสโตรกได้ หากสัมผัสความร้อนนานๆ
– ระดับอันตรายมาก มากกว่า 54 องศาเซลเซียส ถ้าถึงขั้นนี้ ร่างกายจะเกิดภาวะลมแดด…

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @กรมอุตุนิยมวิทยา