หน่วยงานด้านการเกษตรของจีน ร่วมกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา เปิดตัวโครงการนําร่อง “การทำฟาร์มอัจฉริยะ” ที่ไม่ต้องใช้แรงงานคนในฉงชิ่ง

ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเขตฟู่หลิงของฉงชิ่ง มีการใช้เทคโนโลยีทำฟาร์มอัจฉริยะหลายชุด อาทิ รถแทรกเตอร์ไร้คนขับที่ติดตั้งระบบนําทาง BeiDou เครื่องปลูกพืชอัจฉริยะ ระบบควบคุมศัตรูพืชโดยใช้เสียงและแสง และโดรนไร้คนขับสําหรับการฉีดพ่น

การทําฟาร์มอัจฉริยะครอบคลุมกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่การเพาะปลูก การหว่าน การจัดการ และการเก็บเกี่ยว He Guoquan เกษตรกร กล่าวว่า การไถ ปลูก เก็บเกี่ยว และควบคุมศัตรูพืชทั้งหมดสามารถทําได้ในช่วงกลางคืน ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยประหยัดค่าแรง แต่ยังช่วยประหยัดเวลาในการทําฟาร์ม นอกจากนี้ ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เสียงและแสงเพื่อขับไล่ศัตรูพืช เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพผลผลิต

ฉงชิ่งมีพื้นที่เกือบทั้งหมดเป็นพื้นที่ภูเขา โครงการนี้จึงเป็นการยกระดับการทำฟาร์มอัจฉริยะบนพื้นที่สูง โดยภาครัฐของจีนกำลังส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการฟื้นฟูชนบทและสร้างความมั่นคงทางอาหาร 

Zhang Hongcheng นักวิชาการของ Chinese Academy of Engineering กล่าวว่า ถ้าสามารถนำเครื่องจักรทางการเกษตรและรถแทรคเตอร์ไร้คนขับมาใช้ในพื้นที่ลาดชันได้ จะช่วยพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่บนพื้นที่สูง

เครดิต China Media Group (CMG)