รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ออกประกาศข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการหักเงินค่าปรับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมก่อนส่งคลัง พ.ศ. 2566 โดยประกาศนี้ได้มอบหมายให้เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือผู้ได้รับมอบหมายหักค่าปรับตามหลักเกณฑ์และอัตราที่เหมาะสมกับสภาพของความลำบากในการปฏิบัติหน้าที่

ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการให้สินบนนำจับให้กับผู้แจ้งเบาะแสหรือเค้าเงื่อนของการกระทำผิด และเป็นรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โดยให้สินบนการแจ้งเบาะแสนำจับกรณีสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 1,600,000 บาท และกรณีที่ไม่สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดจะได้สินบนแจ้งเบาะแสนำวงเงินสูงสุดไม่เกิน 1,200,000 บาท จากก่อนหน้าที่จะเพียงการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ สคบ. และนำเงินคงเหลือส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

โดยแบ่งอัตราการหักค่าปรับเป็น 2 กรณี คือ กรณีมีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 80% และกรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 60% สำหรับการหักค่าปรับสามารถหักได้ไม่เกินวงเงินสูงสุดของประเภทความผิดนั้นที่ประกาศนี้กำหนด อาทิ ค่าปรับตามมาตรา 56/5 วรรคสาม สำหรับกรณีกระทำความผิดตามมาตรา 56/ มาตรา 56/3 มาตรา 56/4 หรือมาตรา 56/5 เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย กรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 80% แต่ไม่เกิน 1,600,000บาท กรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 60% แต่ไม่เกิน 1,200,000 บาท, ค่าปรับในผิดตามมาตรา 56/2 มาตรา 56/3 มาตรา 56/4 หรือมาตรา 56/5 เป็นเหตุให้อันตรายแก่กาย สุขภาพอนามัยหรือจิตใจของผู้อื่น กรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 80% แต่ไม่เกิน 640,000 บาท กรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 60% แต่ไม่เกิน 480,000 บาท

ขณะที่ค่าปรับในความผิดกรณีโฆษณาโดยใช้ข้อความตามมาตรา 22 วรรคสอง (3) หรือ (4) หรือข้อความตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 22 วรรคสอง (5) หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 25 หรือมาตรา 26 กรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 80% แต่ไม่เกิน 48,000 บาท และกรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 60% แต่ไม่เกิน 36,000 บาท, ค่าปรับในความผิดกรณีเจ้าของสื่อโฆษณา หรือผู้ประกอบกิจการโฆษณา กระทำตามมาตรา 49 วรรคหนึ่ง กรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำผิด

ค่าปรับในความผิดกรณีเจ้าของสื่อโฆษณา หรือผู้ประกอบกิจการโฆษณา ให้หักได้ 80% แต่ไม่เกิน 40,000 บาท กรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 60% แต่ไม่เกิน 30,000 บาท, ค่าปรับในผิดกรณีเจ้าของสื่อโฆษณา หรือผู้ประกอบกิจการโฆษณา กรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 80% แต่ไม่เกิน 24,000 บาท กรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 60% แต่ไม่เกิน 18,000 บาท, ค่าปรับปรับสำในความผิดกรณีขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวก ไม่ให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสาร หลักฐานแก่เจ้าหน้าที่ สคบ.

กรณีมีการจับกุมผู้กระทำผิดให้หักได้ 80% แต่ไม่เกิน 16,000 บาท และกรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำผิด ให้หักได้ 60% แต่ไม่เกิน 12,000 บาท อย่างไรก็ตาม หลังประกาศมีผลบังคับใช้ราว 1 เดือน มีผู้แจ้งเบาะแสมาแล้ว 35 เรื่อง ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่เพื่อพิสูจน์ผู้กระทำผิดต่อไป