แบบแรก เป็นแบบ Pre-Paid คือ ต้องเติมเงินก่อนจึงรูดใช้ได้ และสามารถแลกสกุลเงินต่างประเทศเก็บไว้ล่วงหน้าก่อนได้

แบบที่สอง เป็นแบบเดบิต เป็นบัตรที่ไม่ต้องเติมเงิน แต่จะผูกกับบัญชีธนาคารของเรา เมื่อรูดใช้จ่ายแล้วระบบจะตัดเงินจากในบัญชีของเราเอง

โดยประโยชน์หลัก ๆ ของบัตรเดินทาง มีเป็นอาทิ (1) รูดชำระค่าสินค้าและบริการในประเทศต่าง ๆ  (2) ถอนเงินสดที่ตู้ ATM ในประเทศต่าง ๆ (3) แลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้สะดวกผ่านระบบออนไลน์ และได้อัตราแลกเปลี่ยนที่ดี เพราะไม่เสียค่าธรรมเนียมความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน อีกทั้งยังสามารถแลกเงินเก็บไว้ล่วงหน้าได้ (4) สิทธิพิเศษอื่น ๆ เช่น ประกันการเดินทาง ส่วนลดจากร้านค้าที่ร่วมรายการ

บัตรเดินทางประเภทเดบิตของบางธนาคาร สามารถใช้ถอนเงินสดที่ตู้ ATM ในไทยได้ ถึงแม้ว่าบัตรเครดิตจะสามารถทำหลายอย่างได้คล้ายกับบัตรเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นการใช้แลกเปลี่ยนสกุลเงิน หรือรูดชำระค่าสินค้าและถอนเงินสดที่ตู้ ATM ในต่างประเทศ แต่มีหลายสิ่งที่บัตรเดินทาง แตกต่างจากบัตรเครดิต ก็คือ บัตรเดินทางสามารถใช้แลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้ตลอดเวลาผ่านระบบออนไลน์ โดยแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศได้ในเรตที่ดีกว่า เพราะไม่เสียค่าธรรมเนียมความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 2.5% ของยอดใช้จ่าย เหมือนกับการรูดจ่ายด้วยบัตรเครดิต แลกเงินเก็บไว้ล่วงหน้าได้ในช่วงที่อัตราแลกเปลี่ยนดี และเมื่อนำไปใช้จ่ายในวันไหน ๆ ก็จะคิดตามเรตในวันที่แลกเงินเลย ต่างจากบัตรเครดิตที่ไม่สามารถแลกเงินในวันที่มีเรตดีเก็บไว้ได้ ถ้ารูดบัตรวันไหนก็จะได้เรตในวันที่ใช้จ่ายหรือถอนเงิน

นอกจากนี้ บัตรเดินทาง ควบคุมวงเงินการใช้จ่ายได้ดีกว่าบัตรเครดิต เพราะบัตรเดินทาง จะหักเงินจากวงเงินที่มีในบัญชี หรือวงเงินที่เราแลกสกุลเงินมาเก็บไว้แล้ว หากใช้เกิน รายการใช้จ่ายนั้นจะถูกปฏิเสธ ขณะที่บัตรเครดิตจะมีวงเงินเครดิตให้สูงกว่า มีโอกาสใช้จ่ายเกินลิมิตได้มากกว่า และบัตรเดินทางของบางธนาคารมีประกันอุบัติเหตุการเดินทางให้มาพร้อมกัน

ทางภาษีมองว่าเป็นบัตรเดินทางที่ใช้กดเงินสด ที่คงเหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี กิจการควรรับรู้ เป็น “สินค้าคงเหลือ”