จากเว็บไซต์ IQAir ตรวจวัดได้สูง 224 AQI อยู่ในระดับสีม่วง ซึ่งมีผลกระทบกับคนทุกกลุ่ม นวัตกรรมลดฝุ่น ทั้งขอความร่วมมือหยุดเผาหรือชิงเผาก่อนกำลังนำมาใช้อย่างเร่งด่วนเพื่อบรรเทาปัญหานี้

ในช่วงฤดูกาลฝุ่นคุกคามในพื้นที่ภาคเหนือและหลาย ๆ จังหวัดในประเทศไทย จ.ลำพูนได้จัดจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชน พร้อมตรวจสมรรถภาพปอดให้แก่ประชาชนเพื่อคัดกรองผู้ป่วยทางเดินหายใจเชิงรุกในช่วงฝุ่น PM 2.5ภายใต้โครงการต้นแบบ “ลำพูน สุขก๋าย สบายใจ๋” เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพปอดและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เข้าใจวิธีการจัดการขยะในชุมชนอย่างถูกต้อง และส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อระบบนิเวศ ภายใต้ความร่วมมือของ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK ร่วมกับ เทศบาลเมืองลำพูน และบริษัท ลำพูน ซิตี้ แลป จำกัด

รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างง่าย สำหรับการป้องกันนอกจากจะต้องป้องกันฝุ่นควันเข้าสู่ปอดแล้ว ก็ต้องงดสูบบุหรี่ และควรมีการตรวจสุขภาพปอดแต่เนิ่น ๆ เพราะในบางครั้งกว่าเราจะรู้ตัวว่าเป็นโรคเกี่ยวกับปอดก็ต่อเมื่อมีอาการมากแล้ว

อาจารย์จุลพร นันทพานิช สถาปนิกป่าเหนือสตูดิโอ กล่าวในหัวข้อ “ต้นไม้และระบบนิเวศเขตเมืองเก่า” ว่า การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองจะช่วยเรื่องสภาพอากาศและทำให้คนที่อยู่อาศัยไม่เครียดจนเกินไป การแก้ปัญหาในเรื่องมลพิษต้องแก้ที่ต้นเหตุ ไม่ว่า
จะเป็นการจราจร การไม่เผาพื้นที่เกษตร สำหรับการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ในตัวเมืองลำพูนจะมีความแตกต่างจากที่อื่น เพราะเรานำเอาพื้นดาดแข็ง คือ ถนน มาทำเป็นพื้นที่ปลูกต้นไม้ ซึ่งต้อง ชื่นชมโครงการอย่างมาก และจะเป็นตัวอย่างในระดับโลกได้ จากการวิจัยพบว่าพื้นที่ร่มเงาที่เกิดขึ้นนี้ จะมีผลโดยตรงในการลด PM 2.5 และที่สำคัญคือ คุณค่าในการเป็นภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม หรือ Cultural Landscape ที่จะอยู่คู่กับเมือง

นายเปรม พฤกษ์ทยานนท์ แอดมินเพจลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป กล่าวในหัวข้อ “การจัดการขยะเพื่อชุมชนของเรา” ว่า “PM 2.5 คือขยะประเภทหนึ่งที่เราทิ้งขึ้นฟ้าซึ่งเกิดจาการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง เช่น การเผาที่ทำให้เกิด PM 2.5 การจัดการขยะที่ดีควรเลียนแบบโลกใบนี้ นั่นคือ มีการหมุนเวียนที่ดี สร้างขยะเท่าไรต้องนำกลับมาเท่านั้น อากาศปล่อยเสียเท่าไรต้องดูดกลับมาเท่านั้น ในการจัดการขยะที่ดีจึงต้องทำจากต้นทางก่อน คือ ลดการใช้ มีการใช้ซํ้า นำกลับมาใช้ใหม่ รีไซเคิล ซึ่งจะง่ายกว่าการมาทำที่ปลายทางมาก ๆ สำหรับการจัดการขยะของลำพูน ถือว่าเป็นจังหวัดต้นแบบจังหวัดหนึ่ง มีหลายชุมชนในลำพูนที่ทำเรื่องขยะในชุมชนได้ดีมาก

โครงการต้นแบบ “ลำพูน สุขก๋าย สบายใจ๋” (Lamphun Healing Town) มุ่งสร้างสรรค์พื้นที่ย่านใจกลางเมืองเก่าลำพูนให้เป็นพื้นที่แห่งความสุขทั้งกายและใจ ผ่านการพัฒนาในหลายมิติ ได้แก่ มิติด้านสุขภาวะ มิติสิ่งแวดล้อม และมิติเศรษฐกิจนางโสมรสา พงษ์เพิ่มพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและรัฐกิจสัมพันธ์บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด (GSK) กล่าวทิ้งท้าย.