ด้วยการสอนวิธีป้อนคำถาม ถามยํ้าซ้อนหลาย ๆ แบบ และทดลองนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ มีเพื่อนผมถามว่า แล้วพวก AI นี่มันรักษ์โลกมากกว่าพวกเราหรือเปล่า? ถ้ามีคนหันมาใช้ ซึ่งมีคนมาถามกันมากว่าจะมีผลกระทบทางลบอย่างไรกับสิ่งแวดล้อมบ้าง

ผมตัดสินใจลองถาม Chat GPT เพราะเชื่อว่า เขาถูกเทรนมาแล้วเรื่องความโปร่งใสกับความเที่ยงตรงของข้อมูล คงไม่แถตอบไปเพื่อสร้างภาพให้เพื่อน ๆ AI ของเขา ผมถามเขาว่าทุกคำถามที่ผมถามไป เราสร้างคาร์บอนให้โลกมากน้อยแค่ไหน และคำตอบที่ได้ก็คือ คาร์บอนที่ AI สร้างแตกต่างกันไปตามเครื่องสมองกลของแต่ละค่าย ยิ่งฉลาด ยิ่งตอบเร็วมาก ก็จะยิ่งสร้างคาร์บอนมาก ปกติคำถามหนึ่ง ๆ จะสร้างคาร์บอนราว 1-20 กรัม สูงกว่าการถาม Google 10-15 เท่า แต่ถ้านับตลอดห่วงโซ่สมองกลแล้ว ก็อาจจะเกิน 100 กรัมก็ได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญรับรองเป็นทางการ

ผมลองคำนวณ โดยเอาจำนวนที่ผมมักถาม 20 คำถามต่อวันคูณ 365 วัน ทำให้ได้ผลลัพธ์ก็คือ ปีหนึ่ง ๆ ผมจะปลดปล่อยคาร์บอนเพิ่มราว 0.5-1 ตัน ซึ่งตอนนี้ผมต้องควบคุมตัวเองให้ปลดปล่อยคาร์บอนได้ไม่เกินปีละ 2 ตัน เพื่อให้โลกของเรามีอุณหภูมิไม่สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่ถ้าหากผมยังถาม Chat GPT อยู่แบบนี้ ก็เท่ากับเขากินโควตาที่ผมใช้ได้ไปเกือบครึ่งหนึ่งแล้ว หรือถ้าผมยังใช้ต่อไป ผมก็ควรชดเชยด้วยการปลูกต้นไม้เพิ่มปีละ 50 ต้น

ที่สำคัญทรัพยากรที่สมองกลเหล่านี้ใช้มากที่สุด คือ “นํ้า” โดยในการสนทนา 5-10 คำถาม สมองกลจะจิบนํ้า 1-2 ลิตร ยังไม่นับช่วงที่เราอบรมสมองกลให้ฉลาดขึ้น ที่แต่ละครั้งจะต้องใช้นํ้า 700,000 ลิตร ซึ่งเท่ากับจำนวนนํ้าหล่อเย็นในเตาปฏิกรณ์ปรมาณู หรือเท่ากับผลิตรถ Tesla 300 คัน โดยนํ้าพวกนี้ช่วยหล่อเย็นระบบสมองกลให้อยู่ระหว่าง 10-25 องศาเซลเซียส

เราควรจะมีความฉลาดในการใช้สมองกล โดยการถามอย่างพอเพียง พอประมาณ อย่าคุยเล่น และไม่เลือกสมองกลที่ฉลาดเกินจำเป็น ซึ่งจะเพิ่มการปลดปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ และที่สำคัญเหล่า AI อาจจะดื่มนํ้าจนหมด จนไม่เหลือให้เราไว้เล่นสงกรานต์เลยก็ได้ ซึ่งถ้าหากรู้ว่าจะเป็นแบบนี้ เราหาเพื่อนฉลาด ๆ ไว้คุยด้วยน่าจะดีกว่า.