เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายบัญชา ชุมชัยเวทย์ พิธีกรรายการและผู้ประกาศข่าวเศรษฐกิจชื่อดัง โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “BTimes” ระบุว่า Jul 8, 2021 ซิโนแวคด้อย! ประเทศชิลีเผยประสิทธิภาพไฟเซอร์สูงกว่าซิโนแวคทุกด้านจากการใช้งานจริงในผู้ป่วยที่ชิลี

สาธารณสุขประเทศชิลี เปิดเผยว่า จากการติดตามและเก็บข้อมูลการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ยี่ห้อไฟเซอร์พบว่ามีประสิทธิภาพเหนือกว่าวัคซีนซิโนแวคโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนครบทั้ง 2 โดสในแต่ละยี่ห้อ ซึ่งเป็นผลการจากวิเคราะห์การใช้งานวัคซีนในโลกแท้จริงโดนเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างวัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี mRNA อย่างไฟเซอร์ กับวัคซีนที่ผลิตด้วยเชื้อตายอย่างซิโนแวค

กระทรวงสาธารณสุข ชิลี เปิดเผยต่อไปว่า วัคซีนซิโนแวคมีประสิทธิภาพ 66% ในการป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ในประชาชนกลุ่มผู้ใหญ่ที่ได้รับการฉีดครบ 2 เข็ม ซึ่งมีประสิทธิภาพน้อยกว่าวัคซีนไฟเซอร์ที่มีสูงถึง 93%

วารสารการแพทย์ นิว อิงแลนด์ ได้ตีพิมพ์งานวิเคราะห์ดังกล่าวเมื่อวันวานนี้ 7 กรกฎาคม 2564 มีดังนี้ วัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิภาพในภาพรวม 92.5% ซิโนแวคมีเพียง 65.9% ด้านประสิทธิภาพป้องกันการเจ็บป่วยถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พบว่า ไฟเซอร์มีสูงถึง 95.1% ส่วนซิโนแวคมี 87.5% ด้านประสิทธิภาพป้องกันไม่ให้มีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารักษาในห้องไอซียู พบว่าไฟเซอร์มีถึง 96.2% และซิโนแวคอยู่ที่ 90.3% สุดท้าย คือประสิทธิภาพในการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต พบว่าไฟเซอร์มี 91% ขณะที่ซิโนแวคอยู่ที่ 86.3 จะเห็นได้ว่า ประสิทธิภาพในการป้องกันทุกด้านของวัคซีนไฟเซอร์มีสูงตั้งแต่ 91% ขึ้นไปเมื่อเทียบกับวัคซีนซิโนแวค ที่สำคัญ เป็นข้อมูลที่ได้จากการใช้งานวัคซีนกับประชาชนในโลกแท้จริง หรือในประเทศชิลีไม่ใช่เป็นเพียงผลการศึกษาเฉพาะกลุ่มตัวอย่าง ข้อมูลที่ได้มานั้น

สำหรับการเก็บข้อมูลในการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนทั้ง 2 ยี่ห้อนี้เกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งในช่วงเวลานั้นประเทศชิลีต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟา(อังกฤษ) และสายพันธุ์แกมม่า

ประเทศชิลี #ไฟเซอร์ #ซิโนแวค #covid19 #โควิด19 #Btimes #วัคซีนโควิด