สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ได้กำหนดเงื่อนไขการเปิดรับสมัครลงทะเบียนในระบบซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 200,000 ราย โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการ ดังนี้

  1. คุณสมบัติผู้ซื้อ-จองล่วงหน้าสลากฯ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
  • สัญชาติไทย
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 80 ปีบริบูรณ์ หากอายุเกิน 70 ปี ต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรง สามารถจำหน่ายสลากด้วยตนเองได้
  • มีภูมิลำเนาในเขตที่ตนเองจะเป็นผู้มีสิทธิซื้อ-จองล่วงหน้าสลากฯ มาไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับถึงวันที่สมัครเป็นผู้มีสิทธิซื้อ-จองล่วงหน้าสลากฯ ภูมิลำเนาดังกล่าวให้ถือเอาตามทะเบียนบ้าน
  • มีความสามารถจำหน่ายสลากได้ด้วยตนเอง
  • ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่น่ารังเกียจของสังคม หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  • เป็นผู้ที่ได้รับสลากเพียงระบบเดียวหมายถึง ไม่เป็นตัวแทนจำหน่าย และให้หมายความรวมถึง สมาชิกของตัวแทนจำหน่ายที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งได้รับการจัดสรรสลากจากสมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรการกุศลนั้น ๆ
  • ไม่เป็นพนักงาน หรือลูกจ้างของสำนักงานฯ หรือลูกจ้างคู่สัญญาตามสัญญาจ้างเหมาบริการกับสำนักงานฯ หรือเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลดังกล่าว
  • ไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการ ไม่ว่าจะเป็นราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐอื่น
  • ไม่เป็นพระภิกษุ สงฆ์ นักพรต นักบวชทุกศาสนา เว้นแต่เป็นการบวชชั่วคราวตามประเพณีนิยม
  • ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537

กรณีคนพิการ ต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการที่ออกโดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และหากไม่สามารถจำหน่ายสลากด้วยตัวเอง ไม่ให้นำความตาม (4) มาบังคับ แต่ต้องระบุผู้ดูแลที่แจ้งไว้กับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่สามารถจำหน่ายสลากแทน และผู้ดูแลนั้นต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 1. ด้วย

  1. วิธีการรับสมัคร และการคัดเลือก
  • สำนักงานฯ ออกประกาศเชิญชวนผู้ที่ประสงค์จะขึ้นบัญชีผู้ซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยให้ผู้สมัครทั้งส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) และประจำจังหวัดยื่นสมัครผ่านเว็บไซต์ www.glo.or.th โดยให้ผู้สมัครแนบเอกสารหลักฐาน (อัพโหลดผ่านระบบการรับสมัคร) เช่น ทะเบียนบ้าน ฯลฯ พร้อมระบุสถานที่จำหน่าย และ ปณ.ที่จะรับสลาก ซึ่งจะต้องอยู่ในภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน พร้อมทั้งรับรองข้อมูลของตนเอง และยินยอมให้มีการตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล ก่อนยืนยันการสมัคร
  • สำนักงานฯ นำข้อมูลรายชื่อผู้สมัครทั้งหมด คัดกรองคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ตามคุณสมบัติข้อ 1. หากพบว่าขาดคุณสมบัติ จะไม่นำรายชื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคัดเลือก
  • ให้สำนักงานฯ นำข้อมูลรายชื่อที่ผ่านการคัดกรองตามข้อ 2) มาแยกข้อมูลผู้สมัครเป็นรายจังหวัด เพื่อให้ทราบถึงจำนวนผู้สมัครในแต่ละจังหวัด แล้วนำมาคำนวณกำหนดสัดส่วนผู้ซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาลของแต่ละจังหวัดจากกรอบจำนวน 200,000 คน ดังนี้
  • คณะกรรมการจัดทำบัญชีผู้ซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นผู้ดำเนินการจัดเรียงลำดับแบบสุ่ม (Random Sort) ทั้งส่วนกลางและรายจังหวัดตามสัดส่วนให้ครบตามจำนวนที่กำหนด โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ, บุคคลภายนอก และสื่อมวลชนร่วมเป็นสักขีพยาน
  • สำนักงานฯ นำรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเสนอคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลเพื่อพิจารณา ดังนี้
  • อนุมัติรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้เป็นผู้ซื้อ-จองล่วงหน้าสลากฯ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่งวดวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 (ทำรายการจองในวันที่ 5–6 เมษายน 2565 และสลากซื้อในวันที่ 19 เมษายน 2565)
  • ให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งไปทำการยืนยันตัวตนที่ บมจ.กรุงไทย ภายในระยะเวลา 3เดือนนับตั้งแต่สำนักงานฯ มีประกาศ ทั้งนี้ หากพบว่าผู้ผ่านการคัดเลือกไม่ดำเนินการยืนยันตัวตน (KYC) ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ยกเลิกการเป็นผู้มีสิทธิทำรายการซื้อ-จองล่วงหน้าสลากฯ
  • ให้สำนักงานฯ จัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิทำรายการซื้อ-จองล่วงหน้าสลากฯ ที่ได้ผ่านการยืนยันตัวตนแล้ว โดยมีอายุ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เสนอรายงานสรุปต่อคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล และแจ้งยกเลิกการเป็นผู้มีสิทธิทำรายการซื้อ-จองล่วงหน้าสลากฯ สำหรับผู้ที่ไม่ดำเนินการยืนยันตัวตนภายในระยะเวลาที่กำหนด