สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงนูร์สุลต่าน ประเทศคาซัคสถาน เมื่อวันที่ 7 ม.ค. ว่าประธานาธิบดีคาสซิม-โจมาร์ต โทคาเยฟ แถลงผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ เกี่ยวกับสถานการณ์ประท้วงทั่วประเทศ ที่ยืดเยื้อตั้งแต่เมื่อต้นสัปดาห์นี้ โดยมีชนวนเหตุจากความไม่พอใจเรื่องราคาเชื้อเพลิงแพง แต่หลังจากนั้นบานปลายกลายเป็นการลุกฮือขับไล่รัฐบาล ว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงสามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้วแทบทั้งหมด โดยเฉพาะที่เมืองอัลมาตี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุด
Unrest erupts across #Kazakhstan amid fuel price hike pic.twitter.com/4tDdazY732
— Ruptly (@Ruptly) January 6, 2022
A vehicle rammed into police officers standing in a cordon outside the #Aktobe regional Akimat, on Wednesday.
— Ruptly (@Ruptly) January 7, 2022
Local media reported that one police officer was injured in the attack. The car was found abandoned a few blocks away from the scene.#KazakhstanProtests #Kazakhstan pic.twitter.com/otdTueKh2D
อย่างไรก็ตาม กองกำลังติดอาวุธบางส่วนยังคงไม่ยอมจำนน โดยยังคงมีทั้งเดินหน้าก่อเหตุ และเตรียมการก่อเหตุ ดังนั้น บุคคลใดก็ตามที่อยู่ในข่ายนี้และยังคงปฏิเสธวางอาวุธ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจะใช้ “มาตรการขั้นเด็ดขาด” และขอบคุณความสนับสนุนจากองค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วม (ซีเอสทีโอ) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มพันธมิตรทางทหาร ระหว่างอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งคาซัคสถานเป็นสมาชิก ร่วมกับรัสเซีย เบลารุส อาร์เมเนีย ทาจิกิสถาน และคีร์กีซสถาน ที่ตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อการขอความช่วยเหลือ
ด้านกระทรวงมหาดไทยของคาซัคสถานรายงานว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงวิสามัญ “อาชญากรติดอาวุธ” อย่างน้อย 26 ราย และมีผู้ถูกจับกุมทั่วประเทศมากกว่า 3,000 คน ขณะที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงอย่างน้อย 18 นาย เสียชีวิตระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียออกแถลงการณ์ ยืนยัน “จุดยืนหนักแน่น” ของการสนับสนุนคาซัคสถาน ในฐานะที่เป็นพันธมิตรกัน ทั้งนี้ มีการวิเคราะห์ว่า การจัดการอย่างทันท่วงทีของซีเอสทีโอ ที่มีรัสเซียเป็นหัวเรือใหญ่ เป็นสัญญาณถึง “บุคคลภายนอก” ว่ารัฐบาลมอสโกพร้อมใช้มาตรการทางทหาร เพื่อรักษาอิทธิพลเหนือกลุ่มประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต
Russian aerospace forces begin transfer of peacekeepers to #Kazakhstan#Russia #Moscow pic.twitter.com/ijU3d1Tccx
— Ruptly (@Ruptly) January 7, 2022
แม้คาซัคสถานเคยเผชิญกับการประท้วงมาแล้วหลายครั้งในอดีต แต่การเคลื่อนไหวในระดับรุนแรงและเป็นวงกว้างขนาดนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในประเทศซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจมั่งคั่งที่สุดในเอเชียกลาง และอยู่ภายใต้การปกครองของนายนูร์สุลต่าน นาซาร์บาเยฟ ยาวนานถึง 3 ทศวรรษ ก่อนมีการ “ถ่ายโอนอำนาจผ่านการเลือกตั้ง” ให้กับโทคาเยฟ เมื่อปี 2562 และเป็นที่น่าสังเกตว่า จนถึงตอนนี้ อดีตผู้นำอาวุโสของคาซัคสถานยังไม่มีความเห็นอย่างเป็นทางการ ต่อการประท้วงครั้งนี้.
เครดิตภาพ : REUTERS