@@@@ เมื่อวันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2565 สะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ฉลองครบรอบ 90 ปีนับตั้งแต่เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2475 เป็นสัญลักษณ์ของประเทศออสเตรเลียและเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลก ได้รับการการยกย่องให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางวิศวกรรม ซึ่งสร้างขึ้นด้วยเงินทุน 6.25 ล้านปอนด์ในอัตราเงินในสมัยนั้น ซึ่งเกือบสองเท่าของค่าประมาณเดิมที่ตั้งงบไว้
ปัจจุบันมีรถยนต์ประมาณ 160,000 คันและรถไฟ 480 ขบวนข้ามสะพานทุกวัน แต่ต้องใช้เวลากว่า 130 ปี ตั้งแต่เริ่มคิดที่จะสร้างสะพานจนสามารถเปิดใช้สะพานได้เป็นครั้งแรก และเป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกันและกลายเป็นสถานที่สำคัญที่คนทั่วโลกจดจำได้ในทันที

“วันนี้เมื่อ 90 ปีที่แล้ว สะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์มีชีวิตขึ้นมา และวิสัยทัศน์ของซิดนีย์ยุคใหม่ก็เช่นกัน” เดวิด เอลเลียต รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมกล่าวเมื่อวันเสาร์ “ในวันเปิดสะพานมีคนมากกว่าหนึ่งล้านคนเดินข้ามสะพานด้วยรถราง รถไฟ และเดินเท้า ซึ่งเป็นประชากรเกือบทั้งหมดของซิดนีย์ในขณะนั้น หลังจากหลายปีผ่านไป ขณะนี้สะพานของเราก็ยังแข็งแรงมั่นคงเหมือนเคย สะพานนี้อยู่เหนือทศวรรษและยังคงเป็นจุดเชื่อมโยงการคมนาคมที่สำคัญ ทำให้ชุมชนของเราเชื่อมต่อกัน”

การเฉลิมฉลองในวันเสาร์เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ ได้แก่ การนั่งรถไฟและรถบัสโบราณ ตลอดจนการฉายภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ลงบนเสาสะพาน Howard Collins ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ Transport for NSW กล่าวว่า “สิ่งที่น่าตื่นเต้นเกี่ยวกับสุดสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันนี้คือ คุณมีกิจกรรมสนุกๆ มากมาย ไม่ใช่แค่วันเกิดของสะพานที่สวยงามแห่งนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นรถไฟขบวนแรกที่วิ่งบนสะพานในวันนั้น คุณเชื่อไหมว่า 90 ปีต่อมา คุณจะได้นั่งในวันนี้ ขอบคุณกลุ่มอาสาสมัคร รอยยิ้มบนใบหน้าของผู้คนเมื่อเราข้ามสะพาน ผมคิดว่ามันวิเศษมาก”

นายคอลลินส์ให้คำมั่นว่าจะให้ธงของชาวอะบอริจินโบกอยู่บนสะพานในเร็วๆ นี้ มุขมนตรี Dominic Perrottet เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ได้กดดันให้เร่งติดตั้งเสาธงที่สามให้เร็วขึ้น เพื่อให้ธงของชาวอะบอริจินสามารถเรียกสถานที่ดังกล่าวว่าเป็นบ้านได้ 365 วันต่อปี ปัจจุบันมีเสาธงสองอันบนสะพานสำหรับธงประจำชาติและธงรัฐ โดยที่ธงอะบอริจินใช้แทนธง NSW เพียง 19 วันของปีเท่านั้น นายคอลลินส์กล่าวว่า “ฉันจะทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อให้ได้ธงที่สามบนสะพานตามที่ควรจะเป็นเพื่อเฉลิมฉลอง และทำให้แน่ใจว่าผู้คนเข้าใจประชาชนของ First Nation ของเรา วัฒนธรรมของชาวอะบอริจินและชาวพื้นเมืองของเรา” นายคอลลินส์กล่าว

สะพานนี้ออกแบบโดยวิศวกร จอห์น แบรดฟิลด์ ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “ผู้มีวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับรัฐนิวเซาท์เวลส์และออสเตรเลีย” ฟิลิป แบรดฟิลด์ หลานปู่ของนายแบรดฟิลด์กล่าวในงานแถลงข่าวที่ริมอ่าว หน้าหาดที่ Milsons Point ว่า “เมื่อเขาสร้างสะพานเสร็จที่นี่ เขาไปที่บริสเบนและออกแบบ Story Bridge ดังนั้นเราจึงไม่มี Bradfield Highway แห่งเดียวในออสเตรเลีย เรามีสองแห่ง” การเปิดสะพานสะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ ในปี 1932 เกิดความขัดแย้งโกลาหลขึ้นเมื่อฟรานซิส เดอ กรูท สมาชิกของเดอะนิวการ์ด ซึ่งเป็นกลุ่มทหารฝ่ายขวา ขี่ม้าและตัดริบบิ้นก่อนที่มุขมนตรีรัฐนิวเซาท์เวลส์ นายแจ็ค แลงก์ จะได้ตัดริบบิ้นนี้

เมื่อวันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2565 สะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ฉลองครบรอบ 90 ปี เป็นสัญลักษณ์ของประเทศออสเตรเลียและเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลก ปัจจุบันมีรถยนต์ประมาณ 160,000 คันและรถไฟ 480 ขบวนข้ามสะพานทุกวัน

@@@@ ข่าวศาสนาในประเทศออสเตรเลียวันนี้ ขอเกาะติดข่าวการเดินธุดงค์ข้ามรัฐ ของคณะสงฆ์วัดสัมพันธวงศ์ จีลอง นำโดยท่านเจ้าคุณเข่ง (กาเข่ง เขมโก) ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการเดินเท้าจากวัดของท่านในเมืองจีลอง รัฐวิคทอเรีย มาสู่รัฐเซาท์ออสเตรเลีย เป็นระยะทางทั้งหมดกว่า 700 ก.ม. ในวันที่เขียนข่าว (19 มี.ค. 2565) คณะสงฆ์ได้ออกเดินธุดงค์มาครบ 1 เดือนพอดี และได้ข้ามชายแดนมาสู่รัฐเซ้าท์ออสเตรเลียแล้ว ท่านเจ้าคุณเข่งนั้นเป็นชาวสิงคโปร์ แต่ได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ประเทศไทย และได้ยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติตามแบบฉบับของสายพระป่า ท่านเคยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสันติวนาราม รัฐยะโฮห์ ประเทศมาเลเซีย ก่อนที่จะย้ายมาประจำอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ จีลอง เมื่อต้นปี พ.ศ. 2563 ท่านได้กล่าวถึงเรื่องของการเดินธุดงค์ไว้ว่า “มันเป็นการท้าทายตนเอง เดินไปมา เท้าก็ปวด อากาศก็ร้อน ทางก็ชัน ฝนก็ตก แต่สิ่งเหล่านั้นมันไม่ได้บ่น สิ่งที่บ่นคือใจของเรา ต้องกลับมาดูใจ”

ตลอดเส้นทางที่คณะสงฆ์ธุดงค์ผ่าน ประชาชนในท้องถิ่นให้ความสนใจและให้การต้อนรับเป็นอย่างดี หลายคนมารอถวายอาหารและน้ำแด่คณะสงฆ์ บ้างก็ได้แวะเวียนเข้ามาสนทนาพูดคุย สอบถามอยู่เนือง ๆ แสดงถึงความเป็นมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน บรรลุวัตถุประสงค์ในการใช้กิจกรรมการเดินเพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา และส่งเสริมความสมัครสมานสามัคคีและสันติภาพในชุมชน สวนทางกับกระแสความขัดแย้งในโลกปัจจุบัน ขณะนี้คณะสงฆ์จะหยุดพักชั่วคราว และจะได้พำนักอยู่ที่ Keith Caravan Park (ที่อยู่ 2B Naracoorte Rd, Keith SA) ในระหว่างวันที่ 20-28 มีนาคม หากท่านใดมีความประสงค์ที่จะถวายภัตราหาร สามารถมาได้ทุกวัน ณ เวลา 09:00 น. จึงอยากจะขอเรียนเชิญท่านผู้สนใจและชาวบ้านละแวกใกล้เคียงมาร่วมสนับสนุนกิจกรรมดี ๆ ของคณะสงฆ์จากวัดไทยในประเทศออสเตรเลียครั้งนี้ด้วย หากท่านใดต้องการติดต่อคณะธุดงค์ สามารถติดต่อพระวิชชากโร (พระคริส) ได้โดยตรงที่หมายเลขโทรศัพท์ 0435 374 182

การเดินธุดงค์ข้ามรัฐ ของคณะสงฆ์วัดสัมพันธวงศ์ จีลอง นำโดยท่านเจ้าคุณเข่ง (กาเข่ง เขมโก) ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการเดินเท้าจากวัดของท่านในเมืองจีลอง รัฐวิคทอเรีย มาสู่รัฐเซาท์ออสเตรเลีย เป็นระยะทางทั้งหมดกว่า 700 ก.ม.

@@@@ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565 นางหัทยา คูสกุล กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ เข้าร่วมงาน Commonwealth Day Luncheon ณ NSW Parliament House เพื่อเฉลิมฉลองวันเครือจักรภพ (Commonwealth Day) ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่สองของเดือนมีนาคมทุกปี โดยมี The Honourable Margaret Beazley AC DSC ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ เป็นประธาน นาย Matt Anderson ผู้อำนวยการ Australian War Memorial เป็นผู้กล่าวสุนทรพจน์ โดยมีบุคคลจากรัฐสภา สมาคม/องค์กร และคณะกงสุลจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วม ภายในงานมีพิธีมอบรางวัล Australia Youth Trust และรางวัล Pat Keill OAM Award ด้วย

ในโอกาสนี้ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ฯ ได้อ่านพระราชสาส์นจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มีใจความที่แสดงถึงความชื่นชมในความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของประเทศในเครือจักรภพอันตั้งอยู่บนพื้นฐานของความหลากหลาย และเชื่อมโยงกันผ่านสายสัมพันธ์ ความร่วมมือและมิตรภาพระหว่างกัน โดยมีเป้าประสงค์ร่วมกันคือการสร้างโอกาสให้ทุกคน ท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทายในปัจจุบัน และหวังว่าประเทศในเครือจักรภพจะสามารถผนึกความเข้มแข็งและสร้างแรงบันดาลใจจากสิ่งที่มีร่วมกันเพื่อนำไปสู่อนาคตที่เจริญเติบโต ยั่งยืน และมั่งคั่งต่อไปอนาคตที่เจริญเติบโต ยั่งยืน และมั่งคั่งต่อไป

นางหัทยา คูสกุล กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ เข้าร่วมงาน Commonwealth Day Luncheon ณ NSW Parliament House เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565 เพื่อเฉลิมฉลองวันเครือจักรภพ (Commonwealth Day) ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่สองของเดือนมีนาคมทุกปี

@@@@ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้ต้อนรับผู้บริหารบริษัท Edify Medical ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ Startup ด้านเทคโนโลยีการแพทย์ของออสเตรเลีย ได้แก่ Ms. Yupin Robson, Chief Executive Officer ชาวไทย-ออสเตรเลียน และ Ms. Bianca Garcia,Chief Clinical Officer พร้อมด้วย Mr. Mark Gustowski, Managing Director, บริษัท Innovation Architects ซึ่งประสงค์จะหารือถึงโอกาสและแนวทางในการส่งเสริมธุรกิจของ Edify Medical ในประเทศไทย

บริษัท Edify Medical ให้บริการแพลตฟอร์ม EdifyMed ซึ่งมีเป้าหมายลดอุปสรรคด้านภาษา เพื่อให้มีการเข้าถึงข้อมูลด้านการแพทย์ของบุคลากรด้านสาธารณสุขในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างกว้างขวาง และทั่วถึง โดยเฉพาะประชาชนและผู้ป่วยทั่วไปให้ได้รับบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพมากขึ้น โดยในเบื้องต้น บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับบริษัทเวชภัณฑ์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านออร์โธปิดิกส์ในออสเตรเลีย ไทย สหรัฐอเมริกา และอังกฤษในการพัฒนาและเผยแพร่บทความและคลิปวิดิโอด้านออร์โธปิดิกส์จากผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับผ่านแอพพลิเคชัน EdifyMed เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย เพื่อให้เป็นทางเลือกสำหรับ
การแสวงหาความรู้เพิ่มเติมกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริการด้านสาธารณสุข อาทิ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วไป ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพลตฟอร์ม EdifyMed ได้ที่ https://www.edifymed.com/

คณะผู้บริหารบริษัท Edify Medical ได้เข้าพบเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เพื่อร่วมแสวงหาแนวทางส่งเสริม Platform ข้อมูลด้านการแพทย์ในไทย เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565

@@@@ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา สมาคม Thai Food Fair & Entertainment Association Inc. ได้รับเกียรติจาก Dr. Stephanie Voung และทีมงานแพทย์ในเครือ ให้เกียรติมาร่วมสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันที่ร้านอาหาร Thailand Thai Restaurant Hyde Park Adelade Dr Stephanie ชอบทานอาหารไทยมาก ประจวบกับทีมงานของ Dr Stephanie อาศัยอยู่ใกล้ๆบริเวณนั้นด้วย ทางสมาคมฯเห็นพร้อมต้องกันว่า ร้านนี้เหมาะสมที่สุด แต่ในครั้งต่อๆไปควรจะสลับไปอุดหนุนร้านอาหารไทย ที่ให้การสนับสนุนสมาคมด้วยเช่นกัน

สำหรับบรรยากาศในการรับประทานอาหารในวันนั้น เป็นบรรยากาศที่เป็นกันเอง สนุกสนาน เต็มไปด้วยรอยยิ้ม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คำแนะนำต่างๆในเรื่องของการดูแลสุขภาพ การจัดงาน Event ต่างๆ และ Connections ที่พร้อมที่จะให้การสนับสนุน ส่งเสริมสมาคมฯในทุกๆด้านเท่าที่จะทำได้ และรับปากตอบรับการเชิญมาร่วมงานเทศกาลวันสงกรานต์ที่ทางสมาคมฯจะจัดขึ้นในวันที 9 เมษายน 2565 ที่ Tea Tree Gully Modbury ด้วย นายวํฒนา ชำนาญช่าง ได้บอกกล่าวแก่คณะของ Dr. Stephanie ว่า ประการแรกชื่อของสมาคมบอกตรงตัวอยู่แล้วว่า เป็นการแสดงอาหารและ Entertain การจัดเรื่อง Entertain เป็นหัวใจของสมาคมไม่แพ้เรื่องการจัด Promote Thai Street food ซึ่งจัดการเรื่อง Entertain จะทำให้คนเราคลายเครียด จากการได้รับผลกระทบทางภาวะเศรษฐกิจซบเซา ภาวะการระบาดของโรค ปัญหาการขัดแย้งในครอบครัว ซึ่งมีผลกระทบกับธุรกิจ และจิตใจของผู้คนโดยรวม ทางสมาคมฯจึงต้องการจัดงาน Event ลักษณะนี้ ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมกับสมาคมฯ เพื่อเป็นการผ่อนคลายและบริการให้คนอื่นๆมีความสุขไปกับ สมาคมThai Food Fair & Entertainment Association Inc. ด้วยกันในทุกๆขณะ ที่สำคัญที่สุดงานนี้เป็นงานสนุกสนานที่สุดสำหรับครอบครัวไทยมาแต่โบราณ คือ ทำบุญตักบาตา รดร้ำพระ และสาดน้ำในวันสงกรานต์ ในระหว่างมื้ออาหารได้มีการถ่ยรูปร่วมกันไว้เป็นที่ระลึกหลายภาพ เป็นบรรยากาศที่น่าประทับใจสำหรับสมาคม Thai Food Fair& Entertainment เป็นอย่างยิ่ง

สมาคม Thai Food Fair & Entertainment Association Inc. ได้รับเกียรติจาก Dr. Stephanie Voung และทีมงานแพทย์ในเครือ ให้เกียรติมาร่วมสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันที่ร้านอาหาร Thailand Thai Restaurant

@@@@ เมื่อวันที่ 1-5 มีนาคม 2565 พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและคณะ เดินทางเยือนออสเตรเลียอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของพลเอก Angus Campbell ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเครือรัฐออสเตรเลีย โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและคณะได้เดินทางไปเยี่ยมชม Royal Military College (Duntroon) โดยมี พลจัตวา Ana Duncan ผู้บัญชาการวิทยาลัย ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปเกี่ยวกับกิจการและหลักสูตรของวิทยาลัยฯ และได้นำคณะเยี่ยมชมนิทรรศการภาพถ่ายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงศึกษา ณ วิทยาลัยแห่งนี้ รวมทั้งได้นำคณะเยี่ยมชมอาคารที่พักนักเรียนทหารและเยี่ยมนักเรียนนายร้อยของไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีการศึกษาที่ 2

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้เยี่ยมชมอาคาร Russell กระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย โดยกองทัพออสเตรเลียได้จัดแถวทหาร 3 เหล่าทัพเพื่อให้เกียรติอนรับ และเข้าเยี่ยมคารวะพลเอก Angus Campbell ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเครือรัฐออสเตรเลีย ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่าง 2 กองทัพที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน รวมทั้งได้หารือในประเด็นต่างๆ อาทิ ด้านความมั่นคงในภูมิภาค ความร่วมมือด้านการศึกษาภายใต้กรอบความร่วมมือของ Joint Australia-Thailand Defense Coordination Committee ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ชื่นชมการดำเนินการของกองทัพในการช่วยเหลือรัฐบาลแก้ไขปัญหาทั้งในด้านภัยพิบัติ การแก้ไขปัญหา COVID-19 ทั้งนี้ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้เข้าร่วมการประชุมกับ Special Chiefs of Services Committee ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการระดับสูงทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนของกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย อาทิ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดออสเตรเลีย ผู้บัญชาการเหล่าทัพออสเตรเลีย เสนาธิการทหารออสเตรเลีย ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความสัมพันธ์ทางด้านการทหาร และความมั่นคง ทั้งนี้ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดยังได้เยือน Headquarters of Joint Operations Command โดยมีพลโท Greg Bilton ผู้บัญชาการ Joint Operations Command ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดหน่วยซึ่งทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งทางด้านการข่าว ยุทธการ และกิจการพลเรือน เพื่อนำไปปรับใช้ในแต่ละหน่วยต่อไป นอกจากนี้ คณะได้เยือน Australian War Memorial อนุสรณ์แห่งชาติของออสเตรเลีย ซึ่งได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้เข้าร่วมพิธี Last Post Ceremony และได้วางพวงมาลาเพื่อเป็นการแสดงความระลึกถึงสมาชิกของกองกำลังทหารอาสา และกำลังพลที่เสียชีวิตหรือเข้าร่วมในสงครามที่เกี่ยวข้องกับเครือจักรภพออสเตรเลีย

พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและคณะ เดินทางเยือนออสเตรเลียอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของพลเอก Angus Campbell ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเครือรัฐออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 1-5 มีนาคม 2565

@@@@ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565 คณะจากสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ไปเยี่ยมเยียนช้างไทยที่สวนสัตว์ Taronga โดยมีนาย Simon Duffy ผู้อำนวยการสวนสัตว์ Taronga นาย Gabriel Vergona หัวหน้าผู้ดูแลช้าง และทีมงานเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ให้การต้อนรับ และนำเยี่ยมชมความเป็นอยู่ของช้างไทยที่รัฐบาลไทยส่งมาแลกเปลี่ยน ตามคำขอของฝ่ายออสเตรเลียตั้งแต่ปี 2547 โดยขณะนี้ สวนสัตว์ Taronga นครซิดนีย์ มีช้างไทยจำนวน 2 เชือก คือ แตงโม และผักบุ้ง ช้างทั้งสองถือเป็นขวัญใจของผู้มาเยี่ยมชมสวนสัตว์ สามารถแสดงความสามารถในการไหว้ย่อ “สวัสดีค่ะ” คนที่มาเยี่ยมชมได้อย่างน่ารัก ทำหน้าที่ทูตสันถวไมตรีไทยได้เป็นอย่างดี ช้างทั้งสองมี หัวหน้าผู้ดูแลช้างและทีมงานเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ให้การดูแลเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นที่น่ายินดีและเป็นภาพที่ประทับใจที่เจ้าหน้าที่ของออสเตรเลียดูแลช้างไทย ด้วยความรักและความเอาใจใส่ ในโอกาสนี้ กงสุลใหญ่ฯ ได้หารือกับนาย Duffy ถึงแนวทางการจัดกิจกรรมร่วมกับสวนสัตว์ Taronga ในโอกาสครบรอบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-ออสเตรเลีย เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ โดยเฉพาะในระดับเยาวชน ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสัตว์ประจำชาติของทั้งสองประเทศ ซึ่งได้รับการนำเสนออยู่ในตราสัญลักษณ์ความสัมพันธ์ทางการทูต 70 ปี ด้วย ทั้งนี้ ทางสวนสัตว์ได้ฝากประชาสัมพันธ์มาด้วยว่าสวนสัตว์ Taronga เปิดรับน้อง ๆ คนไทยที่พำนักอยู่ในออสเตรเลียที่สนใจจะฝึกงานเพื่อสร้างประสบการณ์การทำงานกับสวนสัตว์ Taronga ด้วย

คณะจากสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ไปเยี่ยมเยียนช้างไทยที่สวนสัตว์ Taronga โดยมีนาย Simon Duffy ผู้อำนวยการสวนสัตว์ Taronga นาย Gabriel Vergona หัวหน้าผู้ดูแลช้าง และทีมงานเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565

@@@@ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565 นายสุทธิศิลป์ เลิศอรรถรัตน์ และนายอธิภัทธ อมรศักดิ์ ผู้จัดการบริษัท SCG International Australia ได้เข้าพบกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ เพื่อแนะนำตัวและหารือถึงการดำเนินงานของบริษัทฯ ในออสเตรเลีย บริษัท SCG ได้แต่งตั้งผู้แทนเพื่อจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างในออสเตรเลียตั้งแต่ประมาณ 30 ปี ที่ผ่านมา และได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นรูปแบบบริษัทในปี 2544 เริ่มแรกใช้ชื่อว่าบริษัท SCG Trading และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเมื่อต้นปี 2562 เป็นบริษัท SCG International Australia ธุรกิจเป้าหมายในเครือมี 2 ประเภท คือ ส่งออกเศษกระดาษใช้แล้วจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานผลิตกระดาษในเครือ SCG ที่ประเทศไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย และนำเข้าวัสดุก่อสร้างในเครือ SCG มายังออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศหมู่เกาะ

นายสุทธิศิลป์ เลิศอรรถรัตน์ และนายอธิภัทธ อมรศักดิ์ ผู้จัดการบริษัท SCG International Australia ได้เข้าพบกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ เพื่อแนะนำตัวและหารือถึงการดำเนินงานของบริษัทฯ ในออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565

ไตรภพ ซิดนีย์
[email protected]