เคยทราบกันบ้างหรือไม่ว่า..วันที่ 20 มิถุนายน ของทุกปีได้กำหนดให้เป็น วันผู้ลี้ภัยโลก โดยองค์การสหประชาชาติหรือ UN กำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกใน พ.ศ. 2544 เพื่อระลึกถึงความเข้มแข็งความกล้าหาญของผู้ลี้ภัยทั่วโลกที่ถูกบังคับให้พลัดพรากจากบ้าน ความรุนแรงและการประหาร และความพยายามของผู้ลี้ภัยแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมของมนุษย์

ผู้ลี้ภัยคืออะไร?

บุคคลที่หลบหนีจากบ้านและประเทศของตนเอง เนื่องจากความกลัวการประหารที่มีพื้นฐานมาจากเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกในกลุ่มสังคมใดกลุ่มหนึ่งที่เกิดความขัดแย้ง หรือความคิดเห็นทางทางการเมืองไม่ตรงกัน ซึ่งในโลกนี้ที่เต็มไปด้วยความรุนแรง ความเกลียดชัง และความทุกข์ยากอันแสนโหดร้าย ที่เป็นผลพวงมาจากสงคราม จึงทำให้การขัดแย้งทางความคิด ความต่างทางศาสนา ซึ่งทำให้หลายล้านชีวิตกลายเป็น “ผู้ลี้ภัย” บุคคลที่ต้องพาตัวเองและครอบครัวหนี “ความตาย” เคว้งคว้างอยู่ในโลกอันแสนโหดร้ายอย่างไร้ทางสู้

ผู้ลี้ภัยในประเทศไทย?

ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ลี้ภัยราว 97,000 คน ผู้ลี้ภัย (จำนวน 91,275 คน อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ 2565) หนีจากความขัดแย้งภายในประเทศเมียนมา ส่วนมากเป็นชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงแดง (กะยา) ซึ่งได้อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย หรือพื้นที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว 9 แห่งใน 4 จังหวัดตามแนวชายแดนในประเทศไทย

อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าตกใจที่สุดคือข้อมูลจากปลายปี พ.ศ. 2564 จำนวนผู้พลัดถิ่นทั่วโลกอยู่ที่ 89.3 ล้านคน มีผู้ลี้ภัยเด็กผู้หญิง, เด็กชาย เพิ่มขึ้นทุก ๆ วินาที เป็นเด็กกำพร้าและอยู่อย่างไร้ครอบครัว โดยในบรรดาผู้ลี้ภัยทั่วโลกกว่า 68% มาจาก 5 ประเทศ คือ ซีเรีย เวเนซุเอลา อัฟกานิสถาน ซูดานใต้ และเมียนมา ซึ่งมีเด็กผู้ลี้ภัยอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวนมาก ต้องอยู่ลำพังหรือแยกกับครอบครัวไร้คนดูแล…

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก @UNHCR ประเทศไทย