แต่ปัจจุบันเนื่องจากมีการตรวจคัดกรองมะเร็งต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้พบก้อนที่มีขนาดเล็กลงและไม่มีอาการ รวมทั้งทำให้เจอก้อนที่ต่อมไทรอยด์เพิ่มมากขึ้นจนถึง 50-67% ของคนทั่วไป ในจำนวนนี้มีเพียงแค่ 4-7% ของก้อนเท่านั้นที่มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้

ดังนั้น หลังเจอก้อนที่ต่อมไทรอยด์แล้ว จะมีการตรวจระดับฮอร์โมน ตรวจอัลตราซาวด์ดูลักษณะของก้อน หากก้อนนั้นมีขนาดใหญ่กว่า 1-2 ซม. หรือหน้าตาน่าสงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง ก็จะเจาะชิ้นเนื้อไปตรวจ

ส่วนการส่งตรวจ Thyroid Scan จะพิจารณาทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษเท่านั้นครับ

เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วน ก็จะวางแผนการรักษา ซึ่งมีหลายแนวทาง หากก้อนมีขนาดเล็ก ไม่มีลักษณะที่น่าสงสัยเป็นมะเร็งก็จะใช้การติดตามเฝ้าระวัง

หากก้อนนั้นมีขนาดใหญ่ ผลตรวจชิ้นเนื้อพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง ก้อนเริ่มมีอาการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง ก้อนที่ผลิตฮอร์โมนทำให้เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษและไม่สามารถลดยาได้ หรือผู้ป่วยไม่สามารถเข้ารับการตรวจติดตามต่อเนื่องได้ ก็จะใช้วิธีการผ่าตัด

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีนวัตกรรมการผ่าตัดไทรอยด์ไร้แผล หรือการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องที่ซ่อนแผลเป็นไว้บริเวณริมฝีปากล่าง ทำให้ไม่มีรอยแผลเป็น มีความปลอดภัยไม่แตกต่างกับการผ่าตัดแบบเปิด ที่สำคัญการผ่าตัดแบบส่องกล้องจะมีกำลังขยายสูง ทำให้เห็นเส้นเลือด เส้นประสาท หลอดลม ได้ชัดเจน และลดความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บต่ออวัยวะข้างเคียงได้

ส่วนการดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดก็เรียบง่าย เนื่องจากไม่มีแผลจึงไม่จำเป็นต้องไปทำแผลที่โรงพยาบาลทุกวัน แค่บ้วนปากทำความสะอาดทุกครั้งหลังกินข้าวก็พอ และไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นแผลเป็นนูน หรือคีรอยด์หลังผ่าตัด

ปัจจุบันวิธีการผ่าตัดไทรอยด์ไร้แผลได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในประเทศชั้นนำกว่า 40 ประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง เยอรมนี ออสเตรเลีย ฯลฯ อาจเรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติวงการการผ่าตัดไทรอยด์ได้อย่างสิ้นเชิง เพียงแต่ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่นิยมเพราะเป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อน ต้องอาศัยความชำนาญ และความแม่นยำระดับสูง

ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมหรือสอบถามได้ที่ เพจ Facebook : ผ่าตัดส่องกล้องต้องรู้อะไรบ้าง by หมอโจอี้ นพ.ศิรสิทธิ์ เลาหทัย หรือ Line : dr.sirasit หรือ Website : www.doctorsirasit.com

อภิวรรณ เสาเวียง