ไม่ใช่เรื่องดีนัก! กรณีสื่อมวลชนของญี่ปุ่นรายงานข่าวนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.การต่างประเทศ เดินทางไปเมียนมาและเข้าพบ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำกองทัพที่ก่อรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลพลเรือน

แม้นายดอนจะชี้แจงว่าไม่ได้ไปแบบลับ ๆ ล่อ ๆ แต่เคยทำงานในโต๊ะเมียนมา กระทรวงการต่างประเทศมา 40 ปี จึงทราบพัฒนาการต่าง ๆ และยังมอบสิ่งของ เวชภัณฑ์ที่ได้รับบริจาคจากภาคเอกชน 17 องค์กรด้วย แต่นายดอนอย่าลืมว่าสังคมโลก สังคมอาเซียน “แอนตี้” มิน อ่อง หล่าย ถึงขนาดไม่ยอมให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อเดือน .. 64

รวมทั้งเรื่องนี้ภาพลักษณ์ของไทยก็แย่ลงไปอีก เมื่อสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) แถลงการณ์แสดงความผิดหวังเสียใจที่รัฐบาลไทยส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชา 2 คน กลับประเทศเมื่อ 20 พ.ย.ที่ผ่านมา ทั้งที่ยูเอ็นเอชซีอาร์เคยแจ้งทางการไทยถึงสถานะผู้ลี้ภัย และร้องขอว่าอย่าส่งตัวกลับกัมพูชา เพราะเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย

เรื่องราวถัดมา น..ปิยนุช โคตรสาร ผอ.แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลทั่วโลก เปิดตัวแคมเปญ “Write for Rights” หรือ “เขียน เปลี่ยน โลก” ซึ่งเป็นการรณรงค์สิทธิมนุษยชนประจำปีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ผู้คนนับล้านทั่วโลกมารวมตัวกันเพื่อปกป้องสิทธิของผู้อื่น

โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 20 และปีนี้กรณีของ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญเป็นครั้งแรกด้วย เพื่อให้ผู้สนับสนุนของแอมเนสตี้ทั่วโลก ช่วยกันส่งข้อความหลายล้านฉบับเรียกร้องถึงรัฐบาลไทยให้ยุติการดำเนินคดีและข้อกล่าวหาทั้งหมดต่อรุ้งปนัสยา

กรณีดังกล่าวร้อนถึง “แรมโบ้อีสาน” เสกสกล อัตถาวงศ์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ออกมาโจมตีกล่าวหาว่าแอมเนสตี้เป็นองค์กรที่สร้างความแตกแยกให้กับคนไทย และละเมิดจาบจ้วง ไม่ใช่องค์กรที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการจดทะเบียนที่แจ้งไว้กับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (มท.)

ดังนั้น มท. ต้องเพิกถอนแอมเนสตี้ไปให้พ้นแผ่นดินไทย ถ้าไล่องค์กรนี้ออกไม่ได้ ตนออกเอง คือเดินออกจากตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกฯ เพื่อมาร่วมกับประชาชน

ทางด้าน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส. และเลขาธิการพรรคประชาชาติ แสดงความไม่เห็นด้วยเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกมาให้ท้ายการไล่ล่าองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่าง “แอมเนสตี้” ว่าเป็นสิ่งน่าห่วงและกังวลสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่จะตกต่ำ ไม่เพียงในประเทศไทย แต่ในเวทีนานาชาติด้วย

เช่นเดียวกับนายชัยเกษม นิติสิริ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย แสดงความห่วงใยต่อการไล่ “แอมเนสตี้” ออกจากไทย จะทำให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกมองเป็นเรื่องแปลกประหลาด และอาจทำให้ไม่มีประเทศไหนอยากคบค้าสมาคมกับไทยหรือรัฐบาลไทย

หลากหลายเรื่องราวข้างต้น “พยัคฆ์น้อย” ไม่รู้ว่าเกี่ยวพันกับเรื่องนี้หรือเปล่า กรณีฝ่ายบริหารของ “โจ ไบเดน” ผู้นำสหรัฐ เชิญไต้หวันเป็นหนึ่งใน 110 ประเทศและดินแดน ร่วมประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตยทางออนไลน์ที่สหรัฐจัดขึ้นครั้งแรกวันที่ 9-10 ..นี้ เพื่อหยุดยั้งการเสื่อมถอยทางประชาธิปไตยและการพังทลายของสิทธิและเสรีภาพทั่วโลก

โดยไม่มีจีนและรัสเซีย รวมทั้งพันธมิตรเก่าแก่อย่างไทยก็ไม่ได้รับเชิญ! แต่มี 3 ชาติอาเซียน คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้รับการเทียบเชิญด้วย

ดังนั้นจึงพอจะสรุปเบื้องต้นได้ว่า ภาพลักษณ์ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตยลุ่ม ๆ ดอน ๆ แบบไทย ๆ ในตอนนี้ ไม่ได้ดีขึ้นเลยในเวทีโลก!!.

———————————-
พยัคฆ์น้อย