สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. ว่า โควิด-19 ถือเป็นปัจจัยหลักที่อยู่เบื้องหลังการลดลงอย่างรวดเร็ว แม้การรับรู้ทางสังคมเรื่องการแต่งงานที่เปลี่ยนไปจะมีบทบาทสำคัญด้วยเช่นกัน

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติเกาหลีใต้คู่สมรสแต่งงานใหม่ ซึ่งหมายถึงคู่รักที่แต่งงานกันยังไม่ถึง 5 ปี โดยสามีหรือภรรยาเป็นชาวเกาหลีใต้ มีราว 1.1 ล้านคู่ในปีที่แล้ว นับว่าน้อยกว่าจำนวนที่บันทึกไว้ในปี 2563 ถึงประมาณ 82,000 คู่ อีกทั้งหากจำกัดขอบเขตให้เป็นคู่รักที่แต่งงานไม่ถึง 1 ปี สถานการณ์จะยิ่งมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น เพราะตัวเลขคู่รักจะเหลือเพียง 191,904 คู่ ซึ่งลดลงมากถึง 10.4%

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คู่สมรสแต่งงานใหม่ในเกาหลีใต้มีจำนวนลดลง แม้ไม่มีโรคระบาดก็ตาม ปัจจัยต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงในอาชีพการงาน และแนวโน้มการอยู่เป็นโสดซึ่งกลายเป็น “บรรทัดฐานใหม่ทางสังคม” ไปแล้ว คือสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้คนไม่อยากแต่งงาน

แม้กระทั่งในกลุ่มคู่รักที่แต่งงานแล้วก็พบการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน โดยคู่สามีภรรยาที่มีรายได้ทั้งคู่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และเนื่องจากทั้งสองคนต่างต้องทำงาน มันจึงส่งผลให้มีพวกเขาบุตรน้อยลง

นอกจากนี้ คู่บ่าวสาวซึ่งมีภาระหนี้สิน มีสัดส่วนอยู่ที่ 89.1% เพิ่มขึ้น 1.6% และนับเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ที่มีการรวบรวมข้อมูล โดยเจ้าหน้าที่หน่วยงานสถิติระบุว่า หนี้สินดังกล่าวน่าจะมาจากการจ่ายค่าเช้าบ้าน และการจำนองของคู่บ่าวสาวที่เพิ่มขึ้น

ในบรรดาคู่สมรส ผู้ที่แต่งงานเป็นครั้งแรกมีสัดส่วนอยู่ที่ 79.1% ซึ่งลดลง 0.1% จากปี 2563 ส่วนผู้ที่แต่งงานใหม่มีเพิ่มขึ้น 0.1% เป็น 20.6%.

เครดิตภาพ : GETTY IMAGES