ในช่วงที่สถานการณ์ฝุ่นควัน โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก อย่าง PM 10 และ PM 2.5 แพร่กระจายไปในหลายพื้นที่ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จนทำให้หลายๆ คน เลือกที่จะซื้อหา “เครื่องฟอกอากาศ” มาเป็นตัวช่วยเมื่อต้องใช้ชีวิต แต่อันที่จริงแล้ว เคยทราบหรือไม่ว่า เครื่องฟอกอากาศนั้นช่วยกรองฝุ่น ทำให้สุขภาพดีขึ้นจริงหรือ แล้วจำเป็นไหม ที่ต้องซื้อหามาใช้งาน?
-หดหู่นะ!ชีวิตต้องดิ้นรนสู้คนเผาเอาเอง ระดม 20 เครื่องฟอกอากาศทั้งบ้านยังแทบเอาไม่อยู่

เครื่องฟอกอากาศช่วยลดอะไรได้บ้าง?
ลดกลิ่น
นอกจากในแง่ของสุขภาพแล้ว เครื่องฟอกอากาศสามารถกรองอนุภาคที่ทำให้เกิดกลิ่นได้ด้วย หากคุณอยู่คอนโดมิเนียมต้องทำอาหารในพื้นที่จำกัด หรือเลี้ยงสัตว์เลี้ยงภายในห้อง เครื่องฟอกอากาศสามารถลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้

โรคภูมิแพ้และโรคหืดหรือโรคหอบ
ในปัจจุบันเครื่องฟอกอากาศส่วนใหญ่จะใช้แผ่นกรอง HEPA ที่สามารถกรองอนุภาคที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.3 ไมครอน โดยอนุภาคที่ลอยในอากาศจะมีขนาดตั้งแต่ 100 ไมครอนลงมา ซึ่งแผ่นกรองชนิดนี้สามารถดักจับสารก่อภูมิแพ้ ที่เป็นหนึ่งในความเสี่ยงของอาการโรคภูมิแพ้และโรคหืด ทั้งฝุ่น ไรฝุ่น ขนสัตว์และรังแคสัตว์จากน้องหมาน้องแมว สารเคมี ควันบุหรี่ และเกสรดอกไม้

ลดเชื้อโรค
เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) โรคติดเชื้อทางเดินหายใจโดยการสูดเอาละอองลอยที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเข้าไป ผ่านละอองฝอยที่มีเชื้อโรค ซึ่งจากการไอ จาม หรือพูดคุยกันนั้น เครื่องฟอกอากาศสามารถลดโอกาสการหมุนเวียนของเชื้อในอากาศของห้องนั้นได้ 80% แต่เชื้อโรคส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก ทำให้แผ่นกรอง HEPA จึงไม่สามารถกรองเชื้อโรคได้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบันมีแผ่นกรอง HyperHEPA ที่กรองอนุภาคที่มีขนาด 0.003 ไมครอนได้ ซึ่งอาจจะช่วยดักจับเชื้อโรคได้
-“WHO”รับโควิดกระจายในอากาศ เผยเครื่องฟอกอากาศช่วยได้

สิ่งที่ต้องคำนึงก่อนเลือกซื้อ
ก่อนการตัดสินใจซื้อเครื่องฟอกอากาศนั้น รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ เคยแนะนำว่าสิ่งที่สำคัญคือต้องตรวจสอบให้แน่ใจ..
1.ประสิทธิภาพของ HEPA filter ที่จะดักจับฝุ่นละเอียดได้ในปริมาณมาก ว่ามีความละเอียดเพียงพอจะกรองฝุ่น PM 2.5 หรือไม่
2.ความจุของห้องที่เหมาะสมกับการทำงานของเครื่อง เพราะถ้าห้องขนาดใหญ่ ก็จำเป็นต้องซื้อเครื่องตัวใหญ่ เพราะถ้าใช้เครื่องตัวเล็กไป ก็จะทำงานหนักและไม่สามารถลดฝุ่นลงถึงระดับที่ปลอดภัยได้..

ขอบคุณข้อมูลจาก @webmd, @รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล,@อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์