ซึ่งได้ประกาศเจตนารมณ์ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP 26 ในปี 2050 ตั้งเป้าความเป็นกลางทางคาร์บอน และมีเป้าหมายระยะกลางในปี 2030 ประกาศลดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อเมกะวัตต์ ไม่น้อยกว่า 10% ทำให้หลาย ๆ บริษัท ต้องเร่งเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่พอร์ตของตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ที่ต้องใช้พลังงานฟอสซิล ที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้าง CO2

อย่างบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป ก็ได้ประกาศเพิ่มพลังงานหมุนเวียนในพอร์ตด้วยเช่นกัน โดย “เทพรัตน์ เทพพิทักษ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอ็กโก กรุ๊ป เปิดเผยว่า ปี 67 ได้ตั้งเป้างบลงทุน ประมาณ 30,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่อีก 1,000 เมกะวัตต์ ผ่านการทำดีลซื้อกิจการโรงไฟฟ้า (เอ็ม แอนด์ เอ ) เข้ามาเพิ่มเติม จากกำลังผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้นปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 6,996 เมกะวัตต์ รวมโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้วและโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

ทั้งนี้ได้แบ่งกำลังผลิตจากพลังงานหมุนเวียนรวม 1,440 เมกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วน 21% ของกำลังผลิตทั้งหมด ทั้งจากชีวมวล พลังนํ้า พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมทั้งบนบกและในทะเล เซลล์เชื้อเพลิง และระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ โดยโรงไฟฟ้าและโครงการต่าง ๆ ตั้งอยู่ใน 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา เบื้องต้นคาดว่าปี 67 จะต้องปิดการเจรจา (ดีล) ให้ได้อย่างน้อย 3 ดีล

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังมีธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ โครงการขยายระบบขนส่งนํ้ามันทางท่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม บริษัทเทคโนโลยีด้านการเงิน บริษัทด้านการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรม และตั้งเป้าหมายบรรลุเนต
ซีโร่ ภายในปี 2050

“เราจะพยายามเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน โดยไม่เพิ่มถ่านหิน ยืนยันว่าการบริหารสภาพคล่องไม่มีปัญหา มีกระแสเงินสดในมือระดับ 2-3 หมื่นล้านบาท โดยปีที่แล้วตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนไฟฟ้าใหม่ 1,000 เมกะวัตต์ แต่ก็ทำได้ประมาณ 800 เมกะวัตต์ ส่วนเงินลงทุนใช้ไป 2.5 หมื่นล้านบาท”

สำหรับกลยุทธ์จะมุ่งเน้นการขยายการลงทุนในต่างประเทศทั้งโครงการโรงไฟฟ้าแบบดั้งเดิม และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยเน้นร่วมทุนกับพาร์ตเนอร์เดิม ด้านโครงการพลังงานลมในช่องแคบไต้หวัน (หยุนหลิน) ขนาดกำลังการผลิตรวม 640 เมกะวัตต์ คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ หรือ ซีโอดี ครบจำนวน 80 ต้น ได้ภายในปีนี้ หลังจากที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวก่อสร้าง
ล่าช้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ปัจจุบันสามารถติดตั้งได้แล้วจำนวน 45 ต้น และมีการซื้อขายซีโอดีแล้ว 33 ต้น

“ปีนี้คาดว่าจะยังคงเติบโต โดยจะค่อย ๆ เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดเข้าสู่ระบบ เพราะต้องเข้าใจในแง่ของการลงทุนที่ช่วงแรกพลังงานสะอาดจะยังไม่สามารถสร้างกำไร เราจึงตั้งเป้าปี 2030 จะมีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน เป็น 30% จากปัจจุบัน 21% เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และโรงไฟฟ้าแบบดั้งเดิม 70% จากการแสวงหาโอกาสในการลงทุน โดยเฉพาะในต่างประเทศจะยังมุ่งเน้นโรงไฟฟ้าแบบดั้งเดิม เนื่องจากยังมีความจำเป็นต่อระบบไฟฟ้าเพื่อรักษาเสถียรภาพ”.