การควบคุม ป้องกันโรคโควิด-19 ให้ได้ผลดี ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย และหลาย ๆ มาตรการประกอบกัน เฉพาะมาตรการป้องกันตัวเองส่วนบุคคล สวมหน้ากากอนามัย-เว้นระยะห่าง-ล้างมือบ่อย ๆ และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำ ควบคู่กันถึงจะมี ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค

การทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว มุ่งหวังว่าจะรอดจากการติดโควิด-19 น่าจะเป็นการหวังสูงเกินไป!

โดยเฉพาะในระยะนี้ที่รัฐเริ่มคลายล็อก ผ่อนปรนให้ประชาชนสามารถทำ กิจกรรมต่าง ๆ ได้ ยิ่งเป็นระยะที่ประชาชน ต้องระมัดระวังตัวเองอย่างเข้มข้น สิ่งที่ช่วยในการป้องกันการติดเชื้อได้ก็อย่าลังเลที่ จะทำ เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่ง ปัจจุบันรัฐจัดหามาให้ฉีดฟรี หลายแพลตฟอร์ม ทั้งวัคซีน mRNA มีอยู่ 2 ยี่ห้อคือ ไฟเซอร์ และโมเดอร์นา, วัคซีนไวรัลเวกเตอร์ อย่าง แอสตราเซเนกา หรือแม้แต่วัคซีนเชื้อตาย คือ วัคซีนซิโนแวค

เรื่องนี้ หมอผู้เชี่ยวชาญต่างออกมา พูดตรงกันว่า “วัคซีนที่ดีคือวัคซีนที่อยู่ในตัวคนแล้ว”

ล่าสุด ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ออกมาวิเคราะห์ สถานการณ์การระบาด ทั่วโลก โดยยํ้าว่า “เดือนธันวาคม” เป็นเดือนที่ต้อง เฝ้าระวังการระบาดใหม่ ด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็น ซึ่งในส่วนของประเทศไทยแม้ จะไม่ได้หนาวจัด แต่ก็มีสภาพอากาศที่เย็นลง เอื้อต่อการแพร่ระบาดโรค ระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคโควิด-19 บวกกับเป็นเดือนที่มีกิจกรรมสังสรรค์ เดินทาง พบปะกันเยอะ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยง

“เราต้องระวังอย่าให้ 4 เสี่ยงมาเจอกัน นั่นคือ เวลาเสี่ยง บุคคลเสี่ยง สถานที่ เสี่ยง กิจกรรมเสี่ยง ซึ่งคือเดือน ธ.ค. ที่เราหยุดยาว มีเทศกาล และอากาศเย็นลง ยํ้าผู้ประกอบการอย่าทำสถานบริการของท่านให้ เป็นสถานที่เสี่ยง และมีกิจกรรมเสี่ยง อย่าให้มีคนเสี่ยง จึงต้องให้ฉีดวัคซีน และสวมหน้ากากอนามัย ประชาชนก็อย่าทำให้ตัวเองเป็น คนเสี่ยง และเข้าไปในสถานที่เสี่ยง”

ศ.นพ.ประสิทธิ์ ยํ้าด้วยว่า สิ่งสำคัญ คือการมีวินัย เราเห็นตัวอย่างที่ดีจาก ประเทศญี่ปุ่นที่ฉีดวัคซีนกันอย่างพร้อมเพรียงในทุกกลุ่มที่อยู่ในเกณฑ์ฉีดได้ก็มีการ ฉีดวัคซีนจำนวนมาก ประกอบกับการมีวินัย ในการรักสะอาดจึงสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือ ทำความสะอาดกันอย่างเคร่งครัด คือให้ตัวเลขการติดเชื้อ และเสียชีวิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังระมัดระวังเข้มข้นโดยเขารู้ว่าเดือนธันวาคมเป็นเดือนที่มีความเสี่ยง จึงเลี่ยงการเปิดประเทศในช่วงนี้ไป แล้วค่อยว่ากันต่อในเดือนมกราคม 2565

คอลัมน์ : คุณหมอขอบอก
เขียนโดย : อภิวรรณ เสาเวียง