ภาษาแม่สากล มีจุดเริ่มต้นจากเหตุการณ์เรียกร้องสิทธิและเสรีภาพในการใช้ภาษาบังกลาหรือภาษาเบงกาลี ในประเทศปากีสถาน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น นำมาซึ่งการบาดเจ็บและการสูญเสีย จึงทำให้องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันภาษาแม่สากล เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) เป็นต้นมา เพื่อให้มนุษย์ตระหนักถึงพลังและความสำคัญของภาษาแม่ รวมถึงสิทธิทางภาษาของกลุ่มทุกชาติพันธุ์บนโลก

“ภาษาแม่” นั้น ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และเป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจ และก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย และความแตกต่างของมนุษย์ อีกทั้งยังทำให้ได้เข้าถึง เรียนรู้รากเหง้าที่มาของประวัติศาสตร์ชุมชนของตนเอง เรื่องของภาษานั้น ให้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์อันเป็นมรดกทางภูมิปัญญา เกิดเป็น “การท่องเที่ยวชุมชน” และ “เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์” นำมาซึ่งความสัมพันธ์โยงใยกันไปในทั่วโลก ต่างเรียนรู้ซึ่งกัน เพื่อที่จะสื่อสาร แบ่งปัน แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมให้เกิดสันติสุข…