เมื่อเวลา 22.00 น. วันที่ 28 ก.พ.67 นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ภารกิจของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ในการเดินทางมาเยี่ยมเยือนพี่น้องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่ายามเย็นหลังมื้อค่ำที่ร้านต้าเหยิน ออกมาเดินย่อยอาหารในตัวเมืองเบตง จ.ยะลา ปรากฏว่ายิ่งกว่าวิกแตกเลยครับ ผู้คนทั้งชาวเบตงและนักท่องเที่ยวชาวมาเลย์ ต่างมารอขอถ่ายรูปกับนายกฯเศรษฐากันอย่างคึกคักสนุกสนานมากๆครับ

สำหรับวันนี้ highlights แวะ 4 แห่งในยะลา คือ 1) อุทยานการเรียนรู้ยะลา (TK Park Yala) ที่ว่ากันว่าเป็น TK Park ที่มีการบริการจัดการได้ยอดเยี่ยมที่สุดในประเทศไทย ได้เห็นวิธีการเรียนรู้ของเด็กๆที่นี่ เห็นการแสดงออกและเห็นแววตาของเด็กๆแล้ว บอกได้เลยว่าเมืองยะลามีอนาคตที่สดใสรุ่งเรืองคอยอยู่ข้างหน้าอย่างแน่นอนครับ

2) ร้านอาหารและฟาร์มปลานิลสายน้ำไหล เบตง ด้วยเทคนิคการเลี้ยงบวกกับคุณภาพน้ำและอุณหภูมิที่พอเหมาะของที่นี่ (เฉลี่ยทั้งปีไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส) ทำให้รสชาติปลานิลทุกเมนูของที่นี่อร่อยพรีเมี่ยมสุดๆ

โดยเฉพาะเมื่อได้ลิ้มลองซาซิมิแล่สดๆ(จากเนื้อปลานิลขนาดตัวราว 2 กิโลกรัมที่ผ่านการแช่แข็งทันทีมานาน 10 วันเพื่อฆ่าพยาธิทั้งหมด) รสชาติอร่อยสุดยอด ซาซิมิปลาญี่ปุ่นชิดซ้ายไปเลย ราคาส่งออกจากฟาร์ม (ไซส์ 2 ก.ก.)แค่เพียง 400 บาทเท่านั้น ว่าจะสั่งมาลองสัก 20 ตัว แต่ไม่มีของ ทางร้านติดออร์เดอร์จองอีกนานเป็นเดือน นัยว่าปีหนึ่งผลิตได้เพียง 4-5 หมื่นตัว (ขนาด 1 ก.ก.)เท่านั้น

3) สวนหมื่นบุปผา ที่มีไม้ดอกกว่าร้อยชนิด รวมกันมากกว่า 20,000 ดอก ทยอยออกสลับกันตลอดปี นัยว่าเป็นจุดเช็คอินยอดฮิตใหม่ล่าสุดของเบตง

4) ด่านศุลกากรเบตง ที่ปัจจุบันมีมูลค่าการค้าผ่านแดนเพียงราวๆปีละ 3-4 พันล้านบาทเท่านั้น แต่ด้วยความที่อยู่ห่างจากท่าเรือน้ำลึกปีนังเพียงแค่ 80 กม. กับทิศทางการผลิตและส่งออกทุเรียนที่มาแรง (แซงหน้าแชมป์เก่าอย่างยางพารา) ด้วยศักยภาพมูลค่าการส่งออกปีละ 100,000-200,000 ล้านบาทในอนาคตอันใกล้

นายกฯได้ตัดสินใจสั่งการให้เร่งขยายพื้นที่ด่านศุลกากรแห่งนี้พร้อมกับการเร่งขยายพื้นผิวจราจรถนนสาย 410 ระยะทาง 110 กม. วิ่งตรงจากตัวเมืองยะลามาที่ด่านแห่งนี้ให้เป็นสี่เลนตลอดสายภายใน 2 ปี (เดิมผู้นำและผู้บริหารในพื้นที่เสนอขอทำให้เสร็จใน 4 ปี แต่นายกฯบอกว่าช้าไป)

รวมทั้งปรับระบบการให้บริการเป็น One Stop Service ไปพร้อมๆกัน นี่คือ Project ที่จะบูมเศรษฐกิจการค้า/การลุงทุน/การท่องเที่ยวให้กับเบตง&ยะลา แบบสุดๆภายระยะเวลา 3-5 ปี นับจากนี้

จุดที่ตั้งของด่านศุลกากรเบตง คือ จุดที่อยู่ใต้สุดของแผ่นดินไทยติดกับชายแดนมาเลเซียทางด้านรัฐเปรัค