@@@@ เมื่อวันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2564 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีหลังจากเดินทางกลับมาจากแอฟริกาใต้ มีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก การจัดลำดับจีโนมกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ Omicron variant หรือไม่ ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดเป็น “ตัวแปรที่น่าเป็นห่วง” นางนาตาชา ไฟลส์ รัฐมนตรีสาธารณสุขดินแดนนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี กล่าว “เรายังไม่มีการจัดลำดับจีโนมของเคสดังกล่าว แต่จะดำเนินการในอีกไม่กี่วันข้างหน้า” พร้อมเสริมว่าบุคคลดังกล่าวอยู่ในสถานกักกันของโฮเวิร์ด สปริงส์ และมีความเสี่ยงต่ำต่อชุมชน และเคสนี้เป็นหนึ่งในสองเคสในเขตปกครอง Northern Territory ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยอีกรายเป็นชายอายุ 50 ปีจาก Katharine เป็นการติดต่อในครอบครัวของเคสก่อนหน้านี้ นางไฟลส์กล่าวว่าผู้อยู่อาศัยที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนในแคทเธอรีนจะถูกผ่อนคลายจากการล็อกดาวน์เป็นการล็อกเอาต์ โดยกำหนดให้สวมหน้ากากจนถึงวันที่ 7 ธันวาคมเป็นอย่างน้อย “แคเธอรีนจะเลิกล็อกตั้งแต่เที่ยงวันนี้ แทนที่จะล็อกดาวน์” เธอกล่าว “ใครก็ตามที่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วนในภูมิภาคแคทเธอรีน Katherine region สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติ พวกเขาจะต้องสวมหน้ากาก และเราขอแนะนำให้คุณเช็คอินเมื่อคุณออกไปข้างนอก” ผู้อยู่อาศัยที่ได้รับวัคซีนครบแล้วสามารถเดินทางไปยังดาร์วินและไปยังพื้นที่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนในอัตราสูงที่อื่นๆอย่างเสรีแต่จะต้องกรอก application ส่วนผู้ไม่ได้รับวัคซีนจะยังคงถูกล็อกดาวน์ บินจารี Binjari ซึ่งอยู่ใกล้กับแคทเธอรีน จะยังคงล็อกดาวน์อย่างหนัก hard lockdown โดยจะมีการทดสอบเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จในวันจันทร์

รัฐนิวเซาท์เวลส์รายงานผู้ป่วยโควิด-19 ลดลงอย่างต่อเนื่องแล้ว หลังจากพุ่งขึ้นสูงเมื่อต้นสัปดาห์ โดยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 235 ราย ผลลัพธ์ในวันเสาร์ที่บันทึกไว้ในช่วง 24 ชั่วโมงถึง 20:00 น. ของวันก่อนหน้า หลังจากมีผู้เข้ารับการทดสอบมากกว่า 62,000 คนจากตัวเลขรัฐ 276 และ 261 วันพฤหัสบดีและวันศุกร์ตามลำดับ และเป็นวันที่สามติดต่อกันแล้วที่ไม่พบผู้เสียชีวิตจากไวรัส รัฐนิวเซาท์เวลส์กำลังเข้าสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ปัจจุบัน 92.3% ของประชากรที่มีสิทธิ์ ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว รัฐกำลังเข้าใกล้เป้าหมายของการฉีดวัคซีนผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโด้ส ร้อยละ 95 หากบรรลุถึงเป้าหมายก่อนวันที่ 15 ธันวาคม จะมีการผ่อนคลายข้อจำกัดก่อนกำหนด ตามแผนงานของรัฐในการออกจากการล็อกดาวน์ ขณะนี้มีผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐนิวเซาท์เวลส์ 174 รายที่ติดเชื้อโควิด-19 มีผู้ป่วย 26 รายอยู่ในห้องดูแลผู้ป่วยหนัก ICU

มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดการแยกตัวสำหรับผู้ติดต่อใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อที่โรงเรียนเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยนักเรียนไม่ต้องแยกตัวเป็นเวลา 7 วันเต็มอีกต่อไป นักเรียนที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีผลเป็นบวกจะต้องได้รับการทดสอบ PCR โดยเร็วที่สุดหลังจากได้รับแจ้งถึงการสัมผัสใกล้ชิด หากผลเป็นลบ พวกเขาอาจกลับไปโรงเรียนทันที ตราบใดที่ผลการตรวจ Rapid Antigen Home Test เป็นลบในเจ็ดวันข้างหน้า NSW Treasurer นาย Matt Kean กล่าวว่า “รัฐบาลกำลังดำเนินการเรื่องนี้อยู่ว่า ผู้ปกครองจะต้องจ่ายเงินสำหรับชุดทดสอบแอนติเจนอย่างรวดเร็วในบ้าน RAHT Rapid Antigen Home Testing หรือไม่ และจะออกประกาศให้ทราบในเร็วๆ นี้”

ผู้อยู่อาศัยในรัฐนิวเซาท์เวลส์มีอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องตั้งตารอ โดยมีบัตรกำนัล voucher เพิ่มเติมที่สัญญาว่าจะใช้ในเดือนตุลาคมตั้งแต่วันศุกร์ บัตรกำนัล voucher ชุดล่าสุดในโครงการ Dine and Discover ของรัฐบาล โดยผู้ใหญ่แต่ละคนใน NSW จะได้รับเงินเพิ่มอีก 25 ดอลลาร์สำหรับใช้จ่ายในการรับประทานอาหารนอกบ้าน และ 25 ดอลลาร์สำหรับใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง Kean กล่าวว่า “บัตรกำนัลมูลค่ากว่า 276 ล้านดอลลาร์ได้ถูกใช้ไปโดยลูกค้า 4.8 ล้านคนทั่วทั้งรัฐในช่วงการระบาดใหญ่ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นตัวช่วยพยุงสำหรับธุรกิจกว่า 15,000 ราย บัตรกำนัลมูลค่า $25 สองใบนี้จะช่วยรับประกันว่าเราจะสิ้นสุดปี 2564 กันอย่างราบรื่น และช่วยธุรกิจทั่วรัฐนิวเซาท์เวลส์ ในขณะที่เราเดินหน้าสู่ปี 2022 ที่จะฟื้นคืนกลับมาอีกครั้ง”

ทั้งรัฐวิกตอเรียและนิวเซาท์เวลส์มีผู้ป่วยโรคโควิด-19 ลดจำนวนลง เนื่องจากอัตราวัคซีนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้รัฐวิกตอเรีย 90% ของผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปได้รับการฉีดวัคซีนครบสองครั้งแล้ว ขณะที่รัฐมีผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้น 1252 ราย มีผู้เสียชีวิต 5 รายจากไวรัสในรัฐวิกตอเรียในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ผู้เสียชีวิต 5 รายในรัฐวิกตอเรียมีอายุระหว่าง 50, 70 และ 80 ปี ในวันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2564 มีผู้ป่วยในโรงพยาบาล 308 ราย โดย 46 รายอยู่ในห้องไอซียู

รัฐควีนส์แลนด์พบผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่รายใหม่ 1 รายในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา เป็นหนึ่งในหก active case ในปัจจุบัน ประชากรในรัฐควีนส์แลนด์ร้อยละ 70 ในปัจจุบันได้รับวัคซีนครบถ้วนแล้ว รัฐเซาท์ออสเตรเลียพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ เพิ่ม 3 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 2 รายของเมื่อวาน ประชากรในรัฐเซาท์ออสเตรเลียร้อยละ 80 ได้รับการฉีดวัคซีนสองครั้งแล้ว

พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ใน NT หลังจากเดินทางกลับมาจากแอฟริกาใต้ เมื่อวันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2564 มีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก การจัดลำดับจีโนมกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ Omicron ซึ่งองค์การอนามัยโลกออกเตือนแล้วหรือไม่

@@@@ ขอเชิญร่วมบริจาค “อาหารแห้ง และของใช้จำเป็น” ให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่าง ๆ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติไทย และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ขอเชิญทุกท่านร่วมบริจาคอาหารแห้งและของใช้จำเป็นให้แก่องค์กรการกุศล Foodbank เพื่อส่งมอบต่อให้กับผู้ประสบภัยธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ และผู้ขาดแคลน โดยเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยท่านสามารถร่วมบริจาคได้ที่: สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 3 ธ.ค. 2564 ระหว่างเวลา 9.30-16.30 น. หรือวัดพุทธรังษี แอนนันเดล ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2564 เวลา 16.00 น. รายการสิ่งของที่สามารถนำมาร่วมบริจาค:  สบู่ ครีมอาบน้ำ แชมพู ครีมนวดผม และ sanitary items Baby wipes และผ้าอ้อมเด็ก น้ำยาล้างจาน และผงซักฟอก อาหารกระป๋อง เช่น ผัก ผลไม้ ซุป และปลา เส้นก๋วยเตี๋ยว พาสต้า สปาเก็ตตี้ และข้าวสาร Baked beans อาหารเด็ก และนมผง สามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ foodbank.org.au/donatefood

@@@@ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานซิดนีย์ ร่วมกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ จัดกิจกรรม Amazing Thailand Appreciation Lunch 2021 ณ ร้านอาหาร Blue Ginger นครซิดนีย์ในวันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2564 เพื่อพบปะและ reconnect กับ TO/TA/OTA รายสำคัญในพื้นที่ และให้ข้อมูลการเปิดการเดินทางของประเทศไทยภายใต้ Test & Go Scheme สำหรับตลาดออสเตรเลีย การเปิดเที่ยวบินตรงซิดนีย์-ภูเก็ตของการบินไทย รวมทั้งแนวทางการจัดทำแพคเกจเสนอขายประเทศไทยภายใต้ข้อปฏิบัติการเดินทางในปัจจุบันตามแนวทาง Ally with Partners และ Save Our Stakeholders (SOS) โดยมีผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวรายสำคัญของตลาดออสเตรเลียเข้าร่วมกิจกรรมรวม 22 ราย อาทิ Luxury Escape, Flight Centre, Viva Holidays, Hoot Holidays, My Overseas Wedding, TravelZoo, Play Travel, Qantas Hotel ทั้งนี้ เอเย่นต์เริ่มเสนอขายแพกเกจประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานซิดนีย์ ร่วมกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ จัดกิจกรรม Amazing Thailand Appreciation Lunch 2021 ณ ร้านอาหาร Blue Ginger นครซิดนีย์ในวันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2564 เพื่อพบปะกับ TO/TA/OTA รายสำคัญในพื้นที่

@@@@ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ เปิดทำการนอกเวลาราชการเมื่อวันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2564 เพื่อให้บริการผู้มีความจำเป็นต้องรับบริการด้านกงสุล หลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการสาธารณสุขของรัฐ NSW ในโอกาสนี้ สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอขอบคุณผู้มารับบริการทุกท่านที่ได้ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด สำหรับชาวไทยที่อยู่ในพื้นที่อื่น ๆ ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ สถานกงสุลใหญ่ฯ จะแจ้งกำหนดการจัดกงสุลสัญจรให้ทราบ โดยพิจารณาตามมาตรการสาธารณสุขของ NSW ต่อไป

ข่าวดีก็คือ ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ จะเริ่มให้บริการผ่านระบบการจองคิวล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ลดเวลาในการรอรับบริการ และเป็นไปตามมาตรการสาธารณสุขของรัฐนิวเซาท์เวลส์ในการเว้นระยะห่าง เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ท่านที่ประสงค์จะเข้ารับบริการ โปรดจองคิวล่วงหน้าได้ที่หน้าเว็บไซต์ของสถานกงสุลใหญ่ฯ ที่ sydney.thaiembassy.org/th ทั้งนี้ หลังจากวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป จะให้บริการแก่ผู้ที่จองคิวล่วงหน้า ผ่านระบบออนไลน์แล้วเท่านั้น ในระหว่างวันที่ 22-26 พ.ย. 2564 เป็นช่วงเตรียมการปรับระบบการให้บริการ จึงจะสามารถให้บริการได้ในจำนวนจำกัด สำหรับการขอวีซ่าสำหรับคนต่างชาติเข้าประเทศไทย ยังคงสามารถยื่นผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ sydney.thaiembassy.org/en เช่นเดิม

ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ จะเริ่มให้บริการผ่านระบบการจองคิวล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็ว หลังจากวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป จะให้บริการแก่ผู้ที่จองคิวล่วงหน้า ผ่านระบบออนไลน์แล้วเท่านั้น

@@@@ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานซิดนีย์ ได้จัดกิจกรรม Meet the Press – Loy Krathong Festival 2021 โดยเชิญนักเขียน สื่อมวลชน และบล็อกเกอร์สายท่องเที่ยวเข้าร่วม เพื่อนำเสนอข้อมูลและประชาสัมพันธ์การเปิดการเดินทางของประเทศไทยในรูปแบบ Test & Go Scheme ซึ่งออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมาย โดยมีโรงแรมที่มีมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัย SHA+ รองรับ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางแก่นักท่องเที่ยว โดยได้เชิญชวนผู้ร่วมงานร่วมลอยกระทง ชมการแสดงนาฏศิลป์และรับประทานอาหารไทย ในโอกาสนี้ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา และกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ได้เข้าร่วมงานและร่วมลอยกระทงกับสื่อมวลชนด้วย

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานซิดนีย์ ได้จัดกิจกรรม Meet the Press – Loy Krathong Festival 2021 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564โดยเชิญนักเขียน สื่อมวลชน และบล็อกเกอร์สายท่องเที่ยวเข้าร่วม เพื่อนำเสนอข้อมูลและประชาสัมพันธ์

@@@@ วันคล้ายวันเกิดครบรอบ 40+1 ปี ของ แบงค์ กิติพงษ์ กังวลกิจ นักบัญชีชื่อดัง แห่งนครแอดิเลด กับงานฉลองวันเกิดที่ยืดยาวเพราะเลี้ยงกันไม่เลิกรา เริ่มตั้งแต่ การฉลอง ณ ร้าน Carribean Bar เซอร์ไพร์วันเกิด ณ ร้านเชียงใหม่ จากพนักงานร้านที่เจ้าตัวเป็นเจ้าของ และ ฉลองวันเกิดส่วนตัว กับ Honurable Jing lee และ สามี ณ ร้านเชียงใหม่ จนถึงปลายอาทิตย์ ทั้งๆที่วันคล้ายวันเกิดจริงๆนั้น คือ 21 พฤศจิกายน 2564 เริ่มด้วยครอบครัวรัตนโฆสิกได้ จัดเตรียมสถานที่อย่างพร้อมเพียง ต้อนรับทั้งคนไทยและชาติต่างๆมาร่วมดื่มฉลองกันจำนวนมาก ที่ร้าน Caribbean Bar ธุรกิจน้องใหม่ของครอบครัวที่กำลังมาแรง

หลังจากนั้น วันรุ่งขึ้น ทีมงานร้านอาหาร ณ เชียงใหม่ ร่วมจัดปาร์ตี้เซอร์ไพรส์วันเกิด จัดสถานที่ อาหาร ดนตรี ที่สำคัญยิ่งการรวมตัวของเพื่อนพี่น้องชาวไทย และต่างชาติ ที่เคารพนับถือ จำนวนมากมาร่วมเซอร์ไพรส์วันเกิด โดยเจ้าตัวไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดงานนี้ขึ้น ณ เวลาที่เจ้าตัวได้เห็นงานที่จัดขึ้น ผู้คนที่มารอร่วมอวยพรวันเกิด ถึงกับกลั้นรอยยิ้มและน้ำตาแห่งความปลื้มปิติไม่ได้ งานฉลองวันเกิดครั้งนี้เป็นที่น่าชื่นใจ น่าประทับใจ ที่ผู้คนมากมายมีความต้องการมาร่วมฉลองวันเกิด ร่วมสร้างความประทับที่สุดพิเศษให้กับแบงค์ เพราะทุกคนเชื่อ และพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เขาคือคนที่อุทิศเวลาให้กับสังคม ให้กับคนรอบข้างมาตลอด จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าเพราะเหตุใดเขาจึงเป็นที่รักของทุกคน วันเกิดของเขาทุกคนจึงพร้อมที่จะมอบความทรงจำพิเศษให้กับแบงค์

ในวันพุธต่อมา ร่วมรับประทานอาหารกับ ผู้ช่วยมุขมนตรีและวุฒิสภาของรัฐเซารท์ออสเตรเลีย Hon Jing Lee MLC และสามี ที่ร้านอาหาร ณ เชียงใหม่ เชฟได้รังสรรค์เมนูสุดพิเศษเป็นที่น่าประทับใจเป็นอย่างมาก Hon Jing Lee MLC ได้มอบของขวัญสุดพิเศษเป็นไวน์ คอเลคชั่นพิเศษที่ ผลิดเพื่อสมาชิกรัฐสภา เท่านั้น เป็นที่น่าประทับใจเป็นอย่างมาก Hon Jing Lee MLC ยัง กล่าวอวยพร ในเฟสบุ๊คส่วนตัวด้วยว่า “สุขสันต์วันเกิด แบงค์ กังวลกิจ วันนี้เป็นการรวมกลุ่มเล็กๆ ของเพื่อนๆ (และครอบครัว) เพื่อเฉลิมฉลองวันเกิดของคนที่ทำงานหนักเพื่อสังคม  อ่อนน้อมถ่อมตน เอาใจใส่ผู้อื่น เป็นคนใจกว้างและตลกอย่างไม่น่าเชื่อ ขออวยพรให้เพื่อนรักของเรา แบงค์ มีสุขภาพแข็งแรง มีความสุขความเจริญในวันเกิดและตลอดไป” เจ้าตัวเปิดอ่านทุกเช้าก่อนไปทำงานที่สำนักงานบัญชีเพื่อเตือนตัวเองว่า จะเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคมของน้องๆในการทำงานเพื่อส่วนรวม ฉบับต่อไปจะนำเรื่องของหนุ่มคนนี้มาเล่าให้ฟังอย่างละเอียดเพื่อเป็นตัวอย่างคนดีในสังคม

วันคล้ายวันเกิดครบรอบ 40+1 ปี ของ แบงค์ กิติพงษ์ กังวลกิจ นักบัญชีชื่อดัง แห่งนครแอดิเลด กับงานฉลองวันเกิดที่ยืดยาวเพราะเลี้ยงฉลองกันแบบไม่ยอมเลิกราเป็นอาทิตย์จากเพื่อนฝูง ประทับใจสุดก็เมื่อได้รับคำอวยพรจากผู้ช่วยมุขมนตรีและวุฒิสภาของรัฐ SA

@@@@ ฉบับนี้เดลินิวส์พาไปแนะนำ พยาบาลอาชีพ หนุ่มหน้าตาดีร่างเล็กที่จะเห็นบทความบรรยายเรื่องการฉีดวัคซีนตามเฟสบุ๊คที่โน่นที่นี่พร้อมการแนะนำและการชักชวนให้ไปรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ตัวเขาเองก็ไปกับรถหน่วยเคลื่อนที่เปิดคลินิคชั่วคราวฉีดวัคซีนตามสถานที่ทุกครั้งที่มีโอกาส กับหน้าตาที่อ่อนเยาว์กว่าอายุมากมาย  ชัช รองเย็น พยาบาลหนุ่มเปิดเผยกับเดลินิวส์ว่า “ผมอายุมากแล้วนะ คนชอบว่าหน้าหลอก ผมเกิดที่ กรุงเทพฯ มี พี่น้อง 5 คน เป็นคนกลาง ปีนี้ 42 ปี ครับ เรียกว่ามาอยู่ออสเตรเลียนี่พลิกเลยนะครับ ชีวิตผม เรียกว่าเปลี่ยนอาชีพไปเลย ผมเรียนจบปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสยาม สาขาการโรงแรมการท่องเที่ยว แล้วได้เจอแฟนคนปัจจุบันซึ่งอยู่ด้วยกันมา 21 ปี เป็น คนออสเตรเลียเคยทำงานที่เมืองไทย ใน โรงพยาบาลเอกชนที่มื่อชื่อเสียงมากแถวสุขุมวิท ผมเรียนจบได้ไปทำงานบนเรือสำราญ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ ประเทศ อเมริกา Princess Cruise ซึ่ง ณ ตอนนั้น มีแค่ประสบการจากการทำงานชั่วคราวเป็น ประชาสัมพันธ์ของคลินิคต่างชาติเท่านั้น ผมได้เปรียบเพราะภาษาอังกฤษใช้มาตั้งแต่ต้นๆ โดยมีแฟนเป็นครูช่วยบอก ช่วยแก้ ลงเรียนติวพิเศษ เย็นๆ หลังเลิกเรียน ได้รับเข้าดำรงตำแหน่ง Junior Assistant Purser หรือ ประชาสัมพันธ์ หรือ รีเซฟชั่นนิส (Receptionist) บนเรือสำราญนั่นเลย ทำงานกับพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ คนไทย และต่างชาติ บนเรือ ผมนั้นเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้เลยตั้งแต่เริ่มต้น เพราะคนไทยส่วนมากจะทำงานบนเรือเป็น พนักงานเสริฟบ้าง พนักงานทำความสะอาดห้องบ้าง ทุกครั้งที่เดินทาง ก็จะจากบ้านไป เป็นเวลา 6 เดือนเต็ม ล่องเรือไปสถานที่ต่างๆ นานาๆ พร้อมกับลูกค้า ทำงานทุกวันจากวันแรกที่ขึ้นเรือ และวันสุดท้ายที่ออกจากเรือเพื่อกลับบ้าน และจะได้พักผ่อนเป็นเวลา 2 เดือน ก่อนที่จะถูกเรียกตัวกลับไปทำงาน อาจจะได้กลับไปเรือลำเดิมหรือ ได้ไปเรือลำใหม่”

เขาทำงานกับเรือสำราญ Princess Cruise เป็นเวลา 4 ปี เต็ม เกิดอิ่มตัว จึงตัดสินใจเปลี่ยนงาน เอาประสบการณ์ทำงานบนเรือมาสมัครงานในเมืองไทย กลับมาสักพักหางานไม่ได้อย่างที่ต้องการ ประสบการณ์บนเรือไม่เป็นที่ยอมรับกับงานที่ต้องการ ได้แต่ข้อเสนอให้เป็นพนักงานต้อนรับแขก Front Desk ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ จึงได้ตัดสินใจหาที่เรียนต่อในระดับปริญญาโททางด้านการบริหารการจัดการทางด้านโรงแรมและการท่องเที่ยว (Master of Arts in Hospitality and Tourism Management) ชัชเล่าติอว่า “ผมได้เจอคอร์สปริญญาตรีโทจากสองสถานบัน ก็คือ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร และ Southern Cross University ประเทศออสเตรเลีย การเรียนนั้นเป็นหลักสูตรอินเตอร์ ใช้ภาษาอังกฤษหมดและต้องมีการสอบไอเอล IELTS ให้ได้ตามมหาลัยต้องการจึงสามารถทำเรื่องจบได้ ซึ่งตอนนั้น ทั้งสองมหาวิทยาลัยตั้งไว้ต้องได้ไอเอลอย่างน้อย 6 ทุกส่วน เป็นอย่างต่ำ ก่อนจบได้เขียนวิทยานิพนธ์ เรื่อง Medical Tourism in Thailand ซึ่งผ่านการตรวจจากคณะกรรมการและอาจารย์ของมหาลัยนเรศวร และจบปริญญาโททั้งสองใบในมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งในปีเดียวกัน”

ใกล้จะเรียนจบเขาได้สมัครงานหลายที่ โชคดีคราวนี้ ได้งานที่ สถานทูตอังกฤษที่กรุงเทพฯ ซึ่งได้รับตำแหน่งเป็น หนึ่งในผู้ช่วยกงสุล (Consular Assistant) ซึ่งต่อมาได้รับตำแหน่งในแผนกเจ้าหน้าที่ป้อนขอมูลของแผนกวีซ่าที่ สถานทูตอังกฤษ (Data Entry Assistant) ทำงานสองตำแหน่งนี้ เป็นระยะเวลา 3 ปีและในช่วง ปีที่ 4 และเป็นปีสุดท้ายที่ได้ทำงานในสถานฑูตได้รับตำแหน่งเป็น รองผู้ช่วยผู้จัดการ (Deputy Manager of Visa Section) ของแผนกวีซ่าที่สถานทูตอังกฤษ เขาเล่าต่อว่า “เป็นช่วงระยะเวลาที่มีความสุข สนุกสนานในการทำงานเป็นอย่างมาก ได้เจอเพื่อนร่วมงานที่ดีได้สัมผัสระบบการทำงานของอังกฤษ แต่แฟนเขาสนับสนุนให้มาศึกษาต่อ เมื่อเราจะต้องย้ายมาประเทศออสเตรเลียเพื่ออนาคต เขาบอกเป็นพยาบาล สามารถหางานง่ายเพราะเป็นอาชีพที่มีความต้องการสูง ผมพิจารณาและทำการศึกษาหาข้อมูลแล้ว จึงตัดสินใจลาออกจากสถานทูตอังกฤษแล้วมาศึกษาต่อในระดับ ปริญญาสาขาพยาบาลศาสตร์ (Bachelor of Nursing, University Technology of Sydney UTS) ที่ซิดนีย์ การสอบเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลที่ออสเตรเลีย ไม่ได้มีข้อกำหนดอะไรมากมาย แค่มีอย่างน้อยวุฒิการศึกษาอย่างน้อยปริญญาตรีจากไทย บวกกับผลภาษาอังกฤษไอเอลหรือ เทียบเท่าให้ได้คะแนนรวม 7 หรือมากกว่า และคะแนนแต่ละทักษะก็ต้องได้อย่างน้อย 7 ก็สามารถเข้าเรียนได้ ใช้เวลาเรียนสามปี ตามกำหนดซึ่งถามว่าอยากไหม ขอบอกเลยว่ายาก ต้องใช้การทำเข้าใจเยอะ รายงานเยอะ และต้องหาข้อมูลในห้องสมุดบ่อยๆ โชคดีที่ไม่ต้องทำงานไปในขณะที่เรียนไปด้วย เลยมีเวลาเต็มที่จนเรียนจบในสามปีต่อมา เมื่อจบการศึกษาแล้ว จะต้องใช้ใบวุฒิปริญญาตรีบวกกับผลภาษาอังกฤษไอเอล 7 หรือเทียบเท่าเพื่อจะยื่นใบประกอบวิชาชีพพยาบาล Nursing Registration ถึงจะสามารถทำงานเป็น พยาบาล หรือ Registered Nurse ได้ถูกต้องตามกฎหมาย จบมาหางานลำบากโดยความคิดส่วนตัวน่าจะเป็นเรื่องวีซ่า เพราะหลังเรียนจบแล้วได้ถือ Graduate Visa ซึ่งมีระยะเวลา 2 ปี ตามโรงพยาบาลส่วนมากจะกำหนดไว้ว่าบางตำแหน่งจะรับพิจารณาคนที่เป็นประชาการออสเตรเลียหรือคนที่ถือ พีอาร์ก่อน แต่ในที่สุดหลังจาก 4 เดือนผ่านไป ผมก็ได้รับเข้าเป็นพยาบาลที่บ้านพักคนชราแห่งนึงในย่าน Woonona ทางตอนใต้ของรัฐนิวเซาส์เวลส์ (New South Wales) ซึ่งในขณะนั้นผมยังพักอยู่ในซิดนีย์ ก่อนเพราะลังเลว่างานอาจจะไม่แน่นอน และเป็นการทดลอง ดูตัวเองว่าจะชอบงานพยาบาลด้านดูแลผู้สูงอายุจริงไหม ซึ่งตอนนั้นได้รับตำแหน่ง ชั่วคราว (Casual) ซึ่งไม่มีวัน เวลาแน่นอนในตารางทำงาน แต่ผ่านไป 3 อาทิตย์ เจ้านายบอกว่า ปกติแล้วระยะเวลาดูงานจะเป็น 6 เดือน แต่พนักงานคนอื่นๆ ชื่นชมในความใส่ใจและความเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดี เจ้านายจึงเสนอตำแหน่งประจำพร้อมทั้งสวัสดิการ พูดให้เจ้านายฟังเรื่องวีซ่า เขาบอกว่า เรื่องนี้ทางบริษัทต้องขอดูผลงานและใช้เวลา แล้วสามารถตกลงเรื่องสปอนซ์เซอร์วีซ่าให้ ด้วยที่เรารู้แก่ใจว่าเราจะยื่นวีซ่าคู่ครองในภายหลังอยู่ดี แต่ด้วยความที่นายแสดงถึงความใจดีจึงตัดสินใจทำงานที่บ้านพักคนชรานี้เป็นอาชีพประจำ ทำงานมีความสุข หน้าที่การงานเยอะแยะ ความรับผิดชอบสูง ดูแลคนชรา ทั้งหมดประมาณ 100 คน ไหนจะพนักงานอีก เพราะถ้าเป็นพยาบาล หรือ RN จะต้องสามารถ ตัดสินใจในปัญหาต่างๆ นานาๆ ได้ โดยมีเจ้านายสนับสนุนหรือ สามารถโทรหาได้นอกเวลา ไม่ว่าจะมีสัญญานไฟไฟม้ พายุ หรือ ภัยธรรมชาติ จะมีคนบุกรุก คนชราหาย พนักงานทะเลาะกัน คนชราที่อยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต หรือใกล้เสียชีวิต สิ่งเหล่านี้นอกเวลาทำงาน เราจะต้องเป็นคนบริการ จัดการ และตัดสินใจ พอทำมาได้ครบ 1 ปีกว่า ก็กลายเป็น Senior Registered Nurse หรือ พยาบาสอาวุโส ก็จะได้ภาระหน้าที่เพิ่มขึ้นแต่เงินเดือนเท่าเดิม เช่น สอนงานให้พนักงานใหม่ ทำเอกสารมากขึ้น ทำตารางงานจัดชื่อพนักงงานของวันถัดไป บวกกับหน้าที่เดิมด้านบน สนุกสนานชอบการทำงานแบบนี้มากๆ เป็นกันเองได้รับการเคารพจากเพื่อนๆ ร่วมงาน เจ้านาย คนชรา และญาติๆ เป็นอย่างดี ผมก็ทำงานแบบมีความสุขมาตลอด”

จนกระทั่งเมื่อต้นปี 2021 บริษัทได้มีการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนคณะผู้บริsารใหม่ ระบบการจัดแการแย่ลง หวังกำไรมากกว่าสิ่งอื่นใด ตัดชั่วโมงการทำงานลง พร้อมทั้งตัดลดจำนวนพนักงานลงอีก การงานและความกดดันเพิ่มมากขึ้น เขาเล่าว่า “ผมต้องคิดหาแนวทางใหม่ เลยตัดสินใจลงเรียนคอร์สเพิ่มเติมที่เป็นแนวทางใหม่ในการหางานพยาบาลในสาขาอื่น และเป็นช่วงโควิดระบาดหนักในออสเตรเลีย เลยตัดสินใจลงเรียนครอส Immunisation for health practitioners ของ Australian College of Nurse (ACN) ซึ่งทางรัฐ นิวเซาส์เวลส์ ยอมรับพยาบาลที่จบหลักสูตรนี้และสามารถเป็นพยาบาลฉีดวัคซีนทุกชนิดที่มีในประเทศออสเตรเลียรวมถึงวัคซีนโควิด 19 ทุกตัว โดยจะต้องมีการเรียนออนไลน์คอiร์สที่เกี่ยวกับวัคซีน ทั้งสามตัวที่มีการฉีดในประเทศออสเตรเลียนั้นก็คือ Astrazeneca, Pfizer and Moderna นั้นเอง ผมได้เป็นพยาบาลฉีดวัคซีนครั้งแรกโดยเริ่มที่ โอลิมปิคพาร์ค (Sydney Olympic Park) เป็นพนักงานชั่วคราว ของ NSW Health เริ่มเดือนพฤษภาคม”

พยาบาลที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 นั้นในปัจจุบันเป็นที่ต้องการมาก มีบริษัทเอกชนประกาศหาพยาบาลที่มีประสบการณ์ทางด้านฉีดวัคซีนมากมาย เขาจึงตัดสินใจลาออกจากการเป็นพยาบาลในบ้านพักคนชรามาทำงานด้านนี้แบบเต็มตัว เขาเปิดเผยว่า “จากที่ได้เงินเดือนที่บ้านพักคนชราอยู่ที่ ชั่วโมงละ 38 ดอลล่าร์ NSW Health จ่ายให้ $40 ต่อชั่วโมง ทำอยู่ได้ 1 เดือน ผมก็ทนกับการเดือนทางไม่ไหวเพราะใช้เวลาขับรถจาก Wollongong ไป Homebush เที่ยวละ 2 ชั่วโมง บวกเวลาทำงาน 8 ชั่วโมงครึ่ง เหนื่อยมาก เลยลดวันทำลงแล้วมาทำกับบริษัทเอกชนชื่อว่า Aspen Medical ซึ่งสถานที่ทำงานจะต่างออกไปโดยส่วนมากจะไปตามบ้านพักคนชรา ทั่วรัฐและต้องดินทางบ่อยๆ ซึ่งด้วยความเป็นเอกชน ก็จะครอบคลุม ถึงเรื่องค่าน้ำมัน ค่าแรงก็เพิ่มขึ้นเป็น 55 ดอลล่าร์ ต่อชั่วโมง และต่อมาก็ได้รับงานอีกหนึ่งที่เป็นบริษัทเอกชนเช่นกัน ชื่อว่า AMI Expenditure ซึ่งได้ Bankstown Sport Club เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด 19 ชั่วคราว ซึ่งได้รับค่าแรงจากบริษัทนี้ถึง 65 ดอลล่าร์ ต่อชั่วโมง บวกค่าต่างๆนาๆ ก็รวมอยู่ที่ 82 ดอลล่าร์ ต่อชั่วโมง ปัจจุบันได้มาทำของ NSW Health ที่ใกล้ๆบ้านเป็น ศูนย์ของรัฐบาล NSW in Shellharbour/Wollongong Hospital ปัจจุบันทำหน้าที่หลักที่ NSW Health Wollongong Vaccination Hub ในช่วงสองปีที่ผ่านมาเพื่อนๆที่เรียนพยาบาลมาด้วยกันในออสเตรเลียได้ก่อตั้ง Facebook โดยผมก็เป็น หนึ่งในแอดมินให้คำปรึกษา หรือ ช่วยตอบคำถามด้วยการที่พวกแอดมินแชร์ประสบการณ์ส่วนตัว โดยตรง กับพี่ๆ น้องๆ ที่สนใจจะเรียนพยาบาล หรือ เป็นพยาบาลที่ไทยอยู่แล้ว และอยากมาทำงานที่ออสเตรเลีย หรือการเตรียมตัวสอบขึ้นทะเบียนพยาบาล ข้อมูลทุกอยากที่สงสัย ก็จะโพสต์ตอบน้องๆ โดยตอนนี้มีสมาชิกในห้องอยู่ที่ 5,100 กว่าคนแล้ว ห้องนี้มีชื่อว่า พยาบาลไทยในออสเตรเลีย AKA Thai Nurses in Australia มีปัญหาอะไร เข้าไปคุยกันนะครับ น้องๆที่อยู่เมืองไทยที่คิดอยากมาเป็นพยาบาล หรือที่กำลังเรียนอยู่ที่นี่ เข้าไปคุยกับพี่ชัช หาแนวทางได้ครับ ขอบคุณเดลินิวส์ที่เผยแพร่แต่สิ่งดีๆให้ชุมชนไทยในประเทศนี้ครับ”

ชัช รองเย็น พยาบาลหนุ่มตระเวนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ในหลายพื้นที่ในรัฐ NSW กับการเปลี่ยนอาชีพอย่างสิ้นเชิงจากประชาสัมพันธ์ยนเรือสำราญ Consular Assistant และ Deputy Manager of Visa Section ของแผนกวีซ่าที่สถานทูตอังกฤษในไทย

ไตรภพ ซิดนีย์
[email protected]