สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มี.ค. ว่า คณะตุลาการศาลฎีกาสหรัฐทั้ง 9 คน มีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า “สภาคองเกรสเท่านั้น” สามารถบังคับใช้มาตรา 3 ของการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 14 ซึ่งจะห้ามบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับการปลุกระดมให้เกิดความรุนแรง และการก่อการกบฏ จากการลงลงมัคร และดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับประเทศ “องค์กรและหน่วยงานระดับรัฐ ไม่มีอำนาจบังคับใช้มาตราดังกล่าว”
????BREAKING: Supreme Court rules Donald Trump will remain on the 2024 ballot pic.twitter.com/4fBYRQkNRy
— Benny Johnson (@bennyjohnson) March 4, 2024
คำพิพากษาของศาลฎีกาสหรัฐ ซึ่งมีผลผูกพันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และไม่สามารถอุทธรณ์ได้อีก ถือเป็นการประกาศให้คำตัดสินของศาลสูงรัฐโคโลราโด “เป็นโมฆะ” จากกรณีคณะตุลาการในรัฐโคโลราโด มีมติเมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว อ้างมาตรา 3 ของการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 14 ว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ “เป็นผู้ขาดคุณสมบัติทางการเมือง” เนื่องจากอดีตผู้นำสหรัฐมีความเกี่ยวข้องโดยตรง กับเหตุการณ์จลาจลที่อาคารรัฐสภา ในกรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2564 จึงไม่สามารถลงแข่งขันในการเลือกตั้งระดับไพรมารีของพรรครีพับลิกัน ที่รัฐโคโลราโด
ด้านทรัมป์กล่าวขอบคุณคำพิพากษาของศาล และยกย่องเป็น “ชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของอเมริกา” ขณะที่สำนักงานอัยการสูงสุดของรัฐโคโลราโด ยอมรับคำพิพากษาของศาลฎีกา แต่ “ผิดหวัง”
"You cannot take someone out of a race because an opponent would like to have it that way."
— NEWSMAX (@NEWSMAX) March 4, 2024
Donald Trump reacted to the Supreme Court ruling keeping him on the ballot.
MORE: https://t.co/EwBfaH4DPu pic.twitter.com/BfSkXID4Zk
ทั้งนี้ มาตรา 3 ของการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 14 ได้รับการบัญญัติในสมัยสงครามกลางเมืองสหรัฐ เมื่อปี 2411 มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง และฝ่ายสนับสนุนกลุ่มรัฐฝ่ายใต้ ดำรงตำแหน่งในสภาคองเกรสและรัฐบาลกลาง
อนึ่ง โคโลราโดเป็นหนึ่งในรัฐที่จัดการเลือกตั้งขั้นต้นของพรรครีพับลิกัน พร้อมกับอีก 14 รัฐ ในวันอังคารที่ 5 มี.ค. หรือ “ซูเปอร์ทิวสเดย์” ซึ่งจะมีคะแนนคณะผู้เลือกตั้งรวมกันมากถึง 36% ของเสียงสนับสนุนทั้งหมด ที่ผู้สมัครของพรรครีพับลิกันต้องการ คืออย่างน้อย 1,215 คะแนน เพื่อคว้าตำแหน่งตัวแทนพรรค ลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ในการเลือกตั้งวันที่ 5 พ.ย. 2567.
เครดิตภาพ : AFP