เมื่อวันที่ 10 ส.ค. ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุว่า

กระบวนการรักษาที่บ้าน ที่ในชุมชน ชัดเจนขึ้นจากแรงร่วมใจของเอกชนและพื้นที่ การส่งยาต้องถึง ระบบส่งต่อเมื่ออาการเพิ่ม แต่ตราบใดที่ผู้ป่วยใหม่ยังมาก ไม่รู้จะส่งอาการหนักต่อไปที่ใด
วัคซีน ชั้นผิวหนัง ใช้ขนาด 1/5 ถึง 1/10 ของขนาดปกติที่ฉีดเข้ากล้าม

ข้อมูลเริ่มออกมามากขึ้นเรื่อยๆ รีบตัดสินใจยังไม่สายที่จะทำให้ 1,000,000 โด๊ส กลับใช่ได้ในคนจำนวนมากขึ้นกลายเป็นห้าถึง 10,000,000 โด๊ส

และถ้าฉีดแบบวัคซีนพิษสุนัขบ้า วันที่ศูนย์ สามและเจ็ดควรจะได้ภูมิคุ้มกันเริ่มขึ้นในวันที่ 10 ถึงวันที่ 14

ไม่ต้องรอสองเดือน (แอสตรา 2 เข็ม ห่าง 2 เดือน) หรือ ซิโนแวค (2 เข็มห่าง 1เดือน แต่ภูมิขึ้นช้า) หรือ mRNA (2 เข็มห่าง 2 เดือน)

ปฏิบัติเลยพร้อมเก็บข้อมูล อย่าให้สายไปมากกว่านี้