ภายหลังจากที่มีการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ สำหรับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร ไปเมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” กลายเป็นผู้ว่ากรุงเทพมหานครคนที่ 17 ที่คนกรุงเทพฯ เทคะแนนเสียงให้กว่า 1.3 ล้านคะแนน ซึ่งหลังจากผลการลงคะแนนออกมาไม่นาน “ชัชชาติ” ผู้ซึ่งชาวเน็ตยกให้เป็นบุรุษที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี ก็ได้เริ่มงานทันที!

โดยมี 214 นโยบาย เคยประกาศไว้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ ซึ่งจะมีการเน้นไปที่ 4 นโยบายหลัก คือ
1.การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
2.ความปลอดภัยด้านการจราจรและการข้ามทางม้าลาย
3.การแก้ปัญหาหาบเร่แผงลอย ซึ่งจะยังยึดนโยบายเดิมที่ กทม.เคยประกาศไว้ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
4.ปัญหาเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว
https://www.dailynews.co.th/news/1105383/

สำหรับผลงานในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา มีการดำเนินการในด้านไหนไปแล้วบ้างนั้น “เดลินิวส์” ได้รวบรวมมาไว้แล้วดังนี้

ปัญหาน้ำท่วม
23 พ.ค. ภายหลังจากที่มีการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการเพียงชั่วข้ามคืน.. “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. ประเดิมภารกิจแรกตรวจคลองลาดพร้าวแก้ปัญหาน้ำท่วม พร้อมด้วย “วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” ส.ก.เพื่อไทย-ส.ก.ก้าวไกล ร่วมลงพื้นที่ด้วย
https://www.dailynews.co.th/news/1077335/
26 พ.ค. ตรวจจุดอ่อนน้ำท่วมดอนเมืองน้ำท่วมขังซ้ำซาก โดยประสาน ผอ. ให้เร่งระบายน้ำให้เร็วที่สุด ซึ่งแผนระยะสั้นทางเขตต้องเตรียมเครื่องสูบน้ำให้พร้อม 24 ชั่วโมง เพื่อผลักดันน้ำออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด
https://www.dailynews.co.th/news/1087230/
5 มิ.ย. ดูการแก้ไข โครงการปรับปรุงซอยวิภาวดีรังสิต 60 แยก 18-1-4 (ซอยพหลโยธิน 49/1) หน้าแฟลตการเคหะบางบัว จำนวน 60 บ่อ ซึ่งอยู่ในระหว่างแก้ไขแบบ แต่เมื่อมีเหตุการณ์ฝนตกหนักจะเกิดปัญหาน้ำท่วมขัง ไม่สามารถระบายน้ำได้รวดเร็ว ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในการใช้ชีวิตประจำวันและการสัญจร
https://www.dailynews.co.th/news/1117349/
20 มิ.ย. ติดตามการลอกท่อวันแรกบริเวณถนนประชาสงเคราะห์ ใกล้ตลาดห้วยขวาง เป็นระยะทางที่มอบให้กรมราชทัณฑ์ดำเนินการ 530 กม. ประมาณ 3 เดือน แล้วยังมีแผนลอกท่อประจำปี 65 อีก 2,800 กม.
https://www.dailynews.co.th/news/1165934/

21 มิ.ย. ไลฟ์เฟซบุ๊กด้วยตัวเอง หลังจากเข้ามาตรวจดูกล้อง CCTV ตามถนนต่าง ๆ ที่ศูนย์ควบคุมใน กทม. เพื่อตรวจสอบถนนเส้นหลักหลังเกิดฝนตกหนักในช่วงคืนที่ผ่านมา ภายหลังพบว่าน้ำไม่มีการท่วมขัง วอนใครพบเจอน้ำท่วมในซอยย่อยรีบแจ้งเขต-กทม. เพื่อปรับปรุงแก้ไข
https://www.dailynews.co.th/news/1167733/

จราจรคมนาคม
28 พ.ค. ลงพื้นที่ติดตามปัญหาแยกท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ สำรวจผลกระทบจากการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดรัชดาฯ-ราชพฤกษ์ ที่มีความล่าช้า และติดตามความคืบหน้าการแก้ปัญหาอื่นๆ พบประชาชนต่อคิวรอร้องทุกข์เพียบ และขอร้องผู้รับเหมาลงมาเดินสำรวจพื้นที่ก่อสร้างว่า สร้างปัญหากับชาวบ้านหรือไม่
https://www.dailynews.co.th/news/1093237/

2 มิ.ย. เชิญบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที เข้ามาคุยเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว เรื่องการทำท่อสายสื่อสารลงดิน และการบริหารจัดการเดินรถประจำทางด่วนพิเศษ BRT
https://www.dailynews.co.th/news/1107679/

ในวันเดียวกัน ยังได้ลงพื้นที่ห้องวงจรปิด (CCTV) ที่ศูนย์ระบบเทคโนโลยีจราจรกรุงเทพมหานคร ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า)ต่อยอดระบบการรายงานปัญหาออนไลน์ทราฟฟี่ ฟองดูว์ (Traffy Fondue) ที่พัฒนาโดย สวทช. เพื่อให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่การแจ้งปัญหา การติดตามความคืบหน้า และการดูสถิติการแจ้งเรื่องร้องเรียนได้ทั่ว กทม.
https://www.dailynews.co.th/news/1109005/

5 มิ.ย. ลงพื้นที่ติดตามโครงการก่อสร้างสะพานข้ามห้าแยก ณ ระนอง เขตคลองเตย ซึ่งมีประชาชนร้องเรียนโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกล่าช้ามาเป็นจำนวนมาก โดยได้กำชับเร่งคืนผิวการจราจร บรรเทาความเดือดร้อนประชาชน คาดแล้วเสร็จภายใน ธ.ค.นี้
https://www.dailynews.co.th/news/1117817/


19 มิ.ย. จัดระเบียบสายสื่อสารรกรุงรัง โดยมี 2 แนวทางคือ 1 ตัดสายตายที่ไม่ได้ใช้แล้วทิ้ง และแนวทางที่ 2 คือการนำสายไฟหรือสายสื่อสารลงดิน ซึ่งใช้เวลา โดยให้แต่ละเขตเลือกจุดสำคัญก่อน อาจจะเขตละ 20 กิโลเมตร แล้วทำให้เชื่อมต่อกับเขตข้างเคียงให้ต่อเนื่องกันทั้งสายให้เห็นเป็นรูปธรรมก่อน
https://www.dailynews.co.th/news/1163276/

จัดระเบียบหาบเร่-แผงลอย
15 มิ.ย. ลงพื้นที่ถนนเลียบคลองบางลำพู ร่วมกับ นายพงศธร ศิริธรรม ผู้อำนวยการเขตพระนคร และนายสุริยชัย รวิวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ พร้อมกับกล่าวถึง ถนนเลียบคลองบางลำพูว่า ต้นทางมีปัญหาเรื่องหาบเร่แผงลอย แต่ได้คุยกับ ผอ.เขตพระนคร ว่า จะมาจัดระเบียบใหม่ ระหว่างนี้ มีประชาชนร้องเรียนว่า มีแต่เสา ไม่มีไฟ
https://www.dailynews.co.th/news/1151113/

ปัญหาสิ่งแวดล้อม
26 พ.ค. สำรวจสวนบางกอกใหญ่ ระหว่างลงพื้นได้วิ่งออกกำลังกายและร่วมเต้นแอโรบิกกับประชาชน และได้ย้ำนโยบายเพิ่มพื้นที่สีเขียว “กรุงเทพฯ 15 นาที” สร้างสวนสาธารณะไม่ใหญ่มาก แต่ต้องกระจายทั่วกรุงเทพฯ ให้ผู้คนใช้งานได้จริง เป็นพื้นที่ที่มีคุณค่า ที่คนเดินจากบ้านมาได้ ไม่ต้องเดินทางไปถึงสวนขนาดใหญ่ใจกลางเมือง และยังได้ประสานขอใช้พื้นที่ว่างหน่วยงานอื่นอีกด้วย
https://www.dailynews.co.th/news/1085767/


27 พ.ค. ดูพื้นที่เอกชนให้ กทม.ยืมใช้พัฒนาเป็นสวนสาธารณะ เขตบางซื่อ ซึ่ง กทม.มีโครงการหาพื้นที่ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและพัฒนาเป็นสวนสาธารณะตั้งแต่ปี 62 โดยไม่ต้องลงทุนซื้อที่ดิน ซึ่งพื้นที่ที่มาดูเป็นพื้นที่ของเอกชนที่อยู่กลางเมืองติดรถไฟฟ้าสายสีม่วงสถานีวงศ์สว่าง พื้นที่ประมาณ 2 ไร่ มูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท และเป็นตัวอย่างที่ดี หากเอกชนที่มีพื้นที่ว่างยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อยากให้ กทม.ใช้เพื่อพัฒนาเป็นสวนสาธารณะก่อน ดีกว่าปลูกกล้วย
https://www.dailynews.co.th/news/1089508/

5 มิ.ย. ลงพายเรือเก็บขยะในแม่น้ำเจ้าพระยา ณ บริเวณลานใต้สะพานพระราม 8 และสวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด กรุงเทพฯ พร้อมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ชู “BangkokOnlyOne” เร่งผลักดันนโยบายทำให้ กทม.มีสิ่งแวดล้อมที่ดี
https://www.dailynews.co.th/news/1115922/


8 มิ.ย. พิจารณายังไม่จัดเก็บค่าขยะเพิ่ม แต่จะเสนอแนวทางลดปริมาณขยะจากต้นทางด้วยการคัดแยกขยะ สร้างแรงจูงใจ นำมารีไซเคิลช่วยลดปริมาณต้นทาง ลดต้นทุนการจัดการขยะ มากกว่าการไปเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียม ปัจจุบันค่าใช้จ่ายของ กทม.ในการเก็บขนและกำจัดขยะประมาณ 8,000 ล้านบาทต่อปี ในส่วนนี้สามารถจัดเก็บค่าขยะได้ปีละ 500 ล้านบาท
https://www.dailynews.co.th/news/1127738/

17 มิ.ย. ลงพื้นที่ศูนย์กำจัดขยะอ่อนนุช เร่งเคลียร์ปัญหากลิ่นส่งผลต่อชุมชนใกล้เคียง โดยนายชัชชาติ เผยว่า ต้องกลับไปดูรายละเอียดเชิงลึกในการแก้ไขปัญหา แล้วจะกลับมาใหม่ เรื่องนี้หลอกกันไม่ได้ เพราะกลิ่นที่ออกมาทุกคนรับรู้เหมือนกันหมด
https://www.dailynews.co.th/news/1157947/


21 มิ.ย. ประชุมหารือความร่วมมือเกี่ยวกับโครงการสานพลังเคานท์ดาวน์ PM 2.5 เพิ่มสุขภาวะคนเมือง (หลวง) ซึ่ง กทม.ก็ได้ดำเนินการหลายเรื่องหลักๆ มี 4 ด้าน 1.กำจัดต้นตอฝุ่น PM 2.5 2.บรรเทาเหตุที่เกิด พยายามทำให้จุดที่มีฝุ่น PM 2.5 ให้ลดต่ำลง 3.ป้องกัน ต้องมีการแจกอุปกรณ์ป้องกัน หน้ากากกันฝุ่น และเครื่องกรองอากาศให้กับกลุ่มเปราะบาง 4.การคาดการณ์และแจ้งเหตุ เพิ่มเครือข่ายศูนย์แจ้งเหตุ
https://www.dailynews.co.th/news/1170958/

ด้านสาธารณสุข
5 มิ.ย. เสนอ ศบค. ให้คนกรุง ‘ถอดแมสก์’ ในที่โล่ง พ่วง ขอขยายเวลาปิดสถานบันเทิงตี 2 หลังผ่านมา 5 วันไม่มีปัญหา เชื่อควบคุมดีกว่า กระตุ้นเศรษฐกิจคนกลางคืน แต่ยังคงขอให้เป็นไปตามหลักการแพทย์เพื่อให้เกิดความมั่นใจ
https://www.dailynews.co.th/news/1116451/


8 มิ.ย. นายชัชชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ร่วมฝ่ายงานเกี่ยวข้อง โดยหนึ่งในนั้นคือ นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผอ.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พี่ชายฝาแฝด เพื่อพิจารณาเรื่องการถอดหน้ากากอนามัยโดยเน้นตามสถานที่และกลุ่มเสี่ยง
https://www.dailynews.co.th/news/1129207/

15 มิ.ย. ลงนามประกาศ รร.กทม.เป็นพื้นที่ปลอดกัญชา-กัญชง งดจำหน่ายขนม อาหาร ที่มีส่วนผสม พร้อมประชาสัมพันธ์เรื่องโทษส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน
https://www.dailynews.co.th/news/1150655/

นโยบายอื่นๆ
-หนึ่งในนโยบายที่ถูกพูดถึงอย่างมาก คือ 12 เทศกาลตลอดปีทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งนโยบายนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านเศรษฐกิจดี และสร้างสรรค์ดี มีดังนี้
มกราคม: เทศกาลดนตรีในสวน
กุมภาพันธ์: เทศกาลดอกไม้แห่งความรัก
มีนาคม: เทศกาลหนังสือกรุงเทพฯ
เมษายน: เทศกาลอาหารฮาลาลหลังอาทิตย์ลับขอบฟ้า
พฤษภาคม: เทศกาลผลไม้ไทย
มิถุนายน: Pride Month
กรกฎาคม: เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ
สิงหาคม: เทศกาลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กันยายน: เทศกาลงานคราฟต์
ตุลาคม: เทศกาลแข่งเรือกรุงเทพฯ
พฤศจิกายน: เทศกาล 11.11 ชอปปิงพาราไดส์เฟสติวัล
ธันวาคม: เทศกาลแห่งแสง ของขวัญกรุงเทพฯ (Bangkok Winter Illumination)

-นโยบายแจกผ้าอนามัยฟรีให้นักเรียน เริ่มเขตบางขุนเทียนที่แรก เนื่องจากมองว่าผ้าอนามัยคือปัจจัยพื้นฐาน ที่จำเป็นสำหรับผู้มีประจำเดือนทุกคน และเป็นภาระค่าใช้จ่ายอาจส่งผลให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า ความจนประจำเดือน (period poverty) เช่น มีเงินไม่พอซื้อ เข้าถึงได้แต่ไม่เพียงพอ ไปจนถึงการใช้งานอย่างไม่เหมาะสม
https://www.dailynews.co.th/news/1093682/

-นโยบายการย้ายที่ทำงานศาลาว่าการ กทม. เสาชิงช้า มายังศาลาว่าการ กทม.2 (ดินแดง) มองว่าที่ทำการ กทม.ควรจะมีแห่งเดียว ส่วนศาลาว่าการเสาชิงช้า เป็นตึกประวัติศาสตร์ สามารถพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์คนเมืองหรือพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับเมืองได้ ขณะเดียวกัน พื้นที่ลานคนเมืองเปรียบเสมือนสะดือกรุงเทพฯ หรือศูนย์กลางกรุงเทพฯ สามารถพัฒนาหรือใช้งานได้ มากกว่าเอาไว้เป็นสถานที่จอดรถของข้าราชการ กทม. เช่น เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางบนเกาะรัตนโกสินทร์ ประชาชนสามารถมาจอดรถ จอดจักรยาน และเดินทางไปท่องเที่ยวต่อได้
https://www.dailynews.co.th/news/1087230/

-เข้าพบกับคณะกรรมการหอการค้าไทย และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อน กทม.ในด้านต่าง ๆ กัน โดยมีการเสนอ จัดตั้ง “กรอ.กทม.” หาแนวทางร่วมมือพัฒนา กทม. เตรียมตั้งใน 2 สัปดาห์ เร่งเดินหน้า กทม.เป็นเมือง Street Food ภายใน 1 เดือน แก้ปัญหาปากท้องประชาชน
https://www.dailynews.co.th/news/1157761/

-สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ โดย จับมือ สสส.-สธ-มหาดไทย 340 ภาคีเครือข่าย ดัน “สวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย” หยุดวิกฤติ Learning Loss พบเด็กไทย 1.1 ล้านครัวเรือน เสี่ยงพัฒนาการล่าช้า
https://www.dailynews.co.th/news/1114823/

-โครงการ “ผู้ว่าฯ กทม. สัญจร” ประเดิม “เขตคลองเตย” เป็นที่แรก มีการประชุมพูดคุยการบริหารจัดการ ปัญหาในการปฏิบัติงานของสำนักงานเขต สำนักงานเขตคลองเตย
https://www.dailynews.co.th/news/1161460/

-เร่งเคลียร์ปมค่าจอดรถดับเพลิง 139 คัน ที่ กทม.ได้ทำสัญญาซื้อรถดับเพลิงและอุปกรณ์กับบริษัท สไตเออร์-เดมเลอร์-พุค สเปเชียล ฟาห์รซอย เอจี แอนด์ โค เคอี เมื่อวันที่ 25 ส.ค.47และจอดไว้ที่ท่าเรือแหลมฉบัง A5 ของบริษัทนามยง เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน) จ.ชลบุรี โดยมีการยื่นฟ้อง กทม. ตั้งแต่ปี 60 ให้ชำระค่าจอดกว่าพันล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยและภาษีมูลค่าเพิ่มอีกวันละ 2 แสนบาท
https://www.dailynews.co.th/news/1165545/

-แอพรับเรื่องร้องเรียน TraffyFondue ซึ่งเป็นช่องทางที่เปิดให้ประชาชน สามารถร้องเรียนปัญหาที่พบเจอใน กทม.เข้ามาได้ โดยที่ผ่านมาตอลอด 1 เดือนในการทำงานของ “ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” ปรากฏว่ามีชาวเมืองกรุง ได้ออกมารีวิวการแจ้งเรื่องร้องเรียนต่างๆ อาทิ ปัญหาหลุมบ่อบนถนน, ปัญหาไฟจราจรข้ามทางม้าลายเสีย, ปัญหาเจอกองขยะใต้สะพานลอย บอกตอนเย็น รุ่งเช้าจัดการทันที สะอาดทันตาแถมล้างพื้นให้อีกด้วย
https://www.dailynews.co.th/news/1150845/

ไวรัลของผู้ว่าฯกทม.
นอกจากบทบาทในการทำหน้าที่ ผู้ว่าฯ กทม. ของ “ชัชชาติ” แล้ว ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ชาวเน็ตยังได้เห็นแง่มุมที่เรียบง่าย และสัมผัสได้จริง พร้อมอยู่ในทุกพื้นที่ของผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ อาทิ

-ถูกแท็กซี่เท ไม่รับผู้โดยสาร โดยภายหลัง “ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” ได้จับมือขอโทษเหตุมีคลิปแอบถ่ายว่อนโซเชียล ไม่ยอมรับผู้โดยสาร ทั้งที่รอลูกค้าแกร็บ ทำโดนทัวร์ลง ชี้เป็นตัวอย่างที่ดีให้คนเข้าถึงเทคโนโลยีทุกวัย
https://www.dailynews.co.th/news/1083922/

-โลกออนไลน์แห่แชร์ภาพประทับใจ หลัง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. เดินดูการลอกท่อของนักโทษย่านตลาดห้วยขวาง แล้วมีการไหว้ขอบคุณ พร้อมแตะหลังให้กำลังใจการทำงานของเหล่านักโทษ โดยชาวเน็ตที่พบเห็น ต่างเข้าไปแสดงความชื่นชมกันอย่างต่อเนื่อง
https://www.dailynews.co.th/news/1166464/

-ผู้ว่าฯ ชัชชาติ โดนขึ้น จยย.เทศกิจ รุดตรวจจุดเกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านเรือนประชาชนภายในชุมชนบ่อนไก่ ถนนพระรามที่ 4 สอบถามปัญหาอุปสรรค พร้อมสั่งการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนได้รับผลกระทบ จัดตั้งศูนย์รับเรื่องช่วยเหลือทันที…
https://www.dailynews.co.th/news/1170062/